พระราชสมัญญาในหลวงรัชกาลที่ 9, king rama 9

จารึกไว้ในใจ พระอัจฉริยภาพที่นำไปสู่พระราชสมัญญาของในหลวงรัชกาลที่ 9

พระราชสมัญญาในหลวงรัชกาลที่ 9, king rama 9
พระราชสมัญญาในหลวงรัชกาลที่ 9, king rama 9

จารึกไว้ในใจ พระอัจฉริยภาพที่นำไปสู่พระราชสมัญญาของในหลวงรัชกาลที่ 9

ด้วยพระอัจฉริยภาพของในหลวงรัชกาลที่ 9 และความเมตตาที่มีต่อปวงชนชาวไทย ทำให้พระองค์ท่านทรงงานอย่างเหน็ดเหนื่อยมาตลอด 70 ปี โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทำให้คนไทยอยู่ดีกินดีมาถึงทุกวันนี้ จนนำมาซึ่งพระราชสมัญญาที่ทำให้คนไทยไม่มีวันลืม

พระราชสมัญญาในหลวงรัชกาลที่ 9, king rama 9

โดยพระราชสมัญญาที่ยิ่งใหญ่ซึ่งอยู่ในหัวใจคนไทยไม่เคยลืมคือ “สมเด็จพระภัทรมหาราช” มีความหมายว่า มหาราชผู้ประเสริฐยิ่ง ซึ่งเป็นพระราชสมัญญาที่บอกเล่าทุกสิ่งทุกอย่างให้เราชาวไทยได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณได้เป็นอย่างดี

เมื่อย้อนกลับไปในช่วงเวลาที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา ประชาชนชาวไทยได้พร้อมใจกันถวายพระราชสมัญญา “ภูมิพลมหาราช” ซึ่งมีความหมายว่า กษัตริย์ ผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งทรงเป็นกำลังของแผ่นดิน ตามด้วยพระราชสมัญญา “ภัทรมหาราช” มีความหมายว่า กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งเป็นที่รักของปวงชน และในปี พ.ค. 2530 ได้พยายามที่จะทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญา “มหาราช” ซึ่งในประวัติศาสตร์ไทยกว่า 700 ปีเศษมีพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ทรงได้รับการเทิดพระเกียรติเป็นมหาราชแล้ว 6 พระองค์

นอกจากนี้ยังมีพระราชสมัญญาอื่นๆ ที่ชาวไทยน้อมเกล้าฯ ถวายจากพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่านดังนี้

“อัครศิลปิน”

มีความหมายว่า ผู้มีศิลปะอันเลอเลิศ หรือ ผู้เป็นใหญ่ในศิลปิน เมื่อปี พ.ศ. 2529 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญานี้แด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อให้ พสกนิกรไทยและศิลปินทั่วโลกประจักษ์ถึงพระอัจฉริยภาพที่เป็นเลิศทางด้านศิลปะหลายแขนง ทั้งด้านดนตรี การถ่ายภาพ ด้านจิตรกรรม ด้านวรรณกรรม และหัตถกรรม ยกตัวอย่างบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่เราชาวไทยต่างคุ้นเคยกันดี

“พระบิดาแห่งการโคนมไทย”

“อาชีพการเลี้ยงโคนมจะช่วยให้ชาวไทยได้บริโภคอาหารที่มีคุณค่า ทั้งยังช่วยให้เกษตรกรไทยได้มีอาชีพที่มั่นคงเป็นหลักแหล่งไม่ต้องบุกรุกทำไร่เลื่อนลอยอีกต่อไป” พระราชดำรัสของพระองค์ท่าน เมื่อกลับมาจากเสด็จประพาสประเทศเดนมาร์กและได้ทอดพระเนตรกิจการฟาร์มวัวนมและการแปรรูปผลิตภัณฑ์นม

โดยในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ริเริ่มโครงการส่วนพระองค์ ‘โรงโคนมสวนจิตรลดา’ และทรงช่วยเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ทั้งทรงช่วยแก้ปัญหาทุกอย่าง ทรงช่วยวางแผนกิจการและปกป้องผลประโยชน์ระยะยาว ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านการเลี้ยงโคนมมากที่สุด พสกนิกรไทยจึงน้อมเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญานามว่า “พระบิดาแห่งกิจการโคนมไทย”

พระราชสมัญญาในหลวงรัชกาลที่ 9, king rama 9

“พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ”

จากพระราชดำรัส “น้ำคือชีวิต” ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำเป็นจำนวนมาก ทั้งงานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของพสกนิกรและการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ

ตัวอย่างโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ กังหันน้ำชัยพัฒนา, โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง, โครงการแก้มลิง, โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก

“พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย”

เมื่อปี พ.ศ. 2543 คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบถวายการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่ทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” โดยกำหนดให้วันที่ 19 ตุลาคมของทุกปีเป็น “วันเทคโนโลยีของไทย” ซึ่งเป็นวันที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงอำนวยการสาธิตฝนเทียมสูตรใหม่ครั้งแรกของโลก

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงนำความรู้ทางสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกสาขาวิชามาใช้ในการพัฒนา เพื่อให้พสกนิกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พระองค์ท่านไม่ทรงปิดกั้นเทคโนโลยีใหม่จากต่างประเทศ แต่ทรงเน้นว่าจะต้องเลือกใช้เทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์มาปรับปรุงใช้ได้ดีพอ หมาะกับสภาพและฐานะของประเทศ โดยเน้นที่ประสิทธิภาพ ประหยัดและการทุ่มแรงงาน

พระราชสมัญญาในหลวงรัชกาลที่ 9, king rama 9

“พระมหากษัตริย์นักพัฒนา”

เมื่อปี พ.ศ. 2549 สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล “ความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์” ซึ่งเป็นรางวัลแรกที่จัดทำเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 9 จากการที่พระองค์ทรงอุทิศกำลังพระวรกายและทรงพระวิริยอุตสาหะในการประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของปวงชนชาวไทย จนเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก โดยสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญา “พระมหากษัตริย์นักพัฒนา”

“พระบิดาแห่งฝนหลวง”

เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทาน ‘เทคโนโลยีฝนหลวง’ โดยพระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกายในการคิดค้น วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการทำฝนหลวงจนประสบความสำเร็จ เพื่อให้พสกนิกรชาวไทยรอดพ้นวิกฤตภัยแล้ง โดยทดลองปฏิบัติจริงในท้องฟ้าครั้งแรกเมื่อปั พ.ศ. 2512 และเมื่อปี พ.ศ. 2545 คณะรัฐมนตรีมีมติเฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้วยการกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง

“พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย”

เมื่อปี พ.ศ. 2549 ในวโรกาสพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี คณะรัฐมนตรีมีมติจัดโครงการเฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็น “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระอัจฉริยภาพ และพระปรีชาสามารถด้านนวัตกรรมจาก ‘โครงการแกล้งดิน’ แนวพระราชดำริแก้ปัญหาสภาพดินเปรี้ยวให้สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ โดยพระราชดำรัสเกี่ยวกับโครงการแกล้งดินอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นครั้งแรกที่โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง คณะรัฐมนตรีจึงกำหนดให้วันที่ 5 ตุลาคมของทุกปีเป็น “วันนวัตกรรมแห่งชาติ”

พระราชสมัญญาในหลวงรัชกาลที่ 9, king rama 9

“พระบิดาแห่งการประดิษฐ์โลก”

พระราชสมัญญานามว่า “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” ของในหลวงรัชกาลที่ 9 เกิดจากที่พระองค์ได้ทรงคิดค้นผลงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศและพสกนิกรไทยมากมาย และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล Global Leader Award จากองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนี้

โดยในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงได้รับการถวายการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร รวมทั้งสิ้น 11 ฉบับจากสิ่งประดิษฐ์ 11 รายการ และกำหนดให้ทุกวันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็น “วันนักประดิษฐ์” เพื่อเฉลิมพระเกียรติที่พระองค์ทรงประดิษฐ์คิดค้น เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุดช้าแบบทุ่นลอย หรือกังหันน้ำชัยพัฒนา

“พระบิดาแห่งการวิจัย”

เมื่อปี พ.ศ. 2550 สภาวิจัยแห่งชาติมีมติถวายพระราชสมัญญา “บิดาแห่งการวิจัยไทย” ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีผลงานวิจัยจำนวนมากที่ได้รับพระราชทานแนวพระราชดำริ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ นการแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชน ตัวอย่าง ทฤษฎีใหม่

“พระบิดาแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย”

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงสนพระราชหฤทัยสร้างสรรค์และอุปถัมภ์บํารุงงานศิลปะสาขาต่าง ๆ อีกทั้งทรงพระกรุณาพระราชทาน พระราชดําริและพระบรมราชวินิจฉัยในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบทอดศิลปวัฒนธรรมทุกแขนง พระอุตสาหวิริยะและพระปรีชาสามารถอันล้ำเลิศ ตลอดจนได้พระราชทานพระบรมราโชวาทและพระราชดํารัสเตือนใจให้พสกนิกรไทยร่วมมือร่วมใจกันสงวนรักษาและสืบทอดศิลปวัฒนธรรมของชาติ ให้ยั่งยืนเป็นมรดกไทยถึงอนุชนรุ่นหลัง ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการดําเนินงานวันอนุรักษ์มรดกไทย กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมจึงน้อมเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย” เมื่อปี พ.ศ. 2550

พระราชสมัญญาในหลวงรัชกาลที่ 9, king rama 9

“พระบิดาแห่งการช่างไทย”

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงสนพระราชหฤทัยในงานช่างตั้งแต่ยังทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยเมื่อครั้งทรงพระเยาว์พระองค์ได้ทรงประดิษฐ์ของเล่นด้วยพระองค์เอง อาทิ เครื่องร่อน เรือรบจำลอง และรถลากไม้ และแม้ภายหลังจากที่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติแล้ว ยังคงสนพระราชหฤทัยในงานช่างอยู่เสมอ ช่างชิ้นหนึ่งที่แสดงถึงพระปรีชา คือ ‘ผลงานการออกแบบและต่อเรือ’ ทรงชนะเลิศการแข่งขันกีฬาเรือใบในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2510 ณ ประเทศไทย ด้วยเรือที่ทรงต่อขึ้นด้วยพระองค์เอง จึงเป็นที่ประจักษ์ว่าในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระปรีชาชาญงานช่างอย่างแท้จริง ในปี พ.ศ. 2552 กระทรวงแรงงานน้อมเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญานาม “พระบิดาแห่งการช่างไทย”

“พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน”

“…การศึกษาตลอดชีวิตจะเป็นประโยชน์ทั้งส่วนตัว และประเทศชาติสืบต่อไป…” พระบรมราโชวาทตอนหนึ่งของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงให้ความสำคัญต่อการศึกษาของคนไทยเป็นอย่างมาก พระงอค์ทรงมีพระบรมราโชบายส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทุกระดับทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน การศึกษาพิเศษ การศึกษาสงเคราะห์ และการพระราชทานทุนการศึกษา เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2554 กระทรวงศึกษาธิการได้ถวายพระราชสมัญญา “พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน”

keyboard_arrow_up