ข้อควรรู้ : กฎหมายและ ข้อห้ามต่างๆ ในการเล่นน้ำวันสงกรานต์ 2560

ข้อควรรู้ : กฎหมายและ ข้อห้ามต่างๆ ในการเล่นน้ำวันสงกรานต์ 2560

Why : รวมกฎข้อห้ามต่างๆ ในการเล่นน้ำสงกรานต์ที่ทางรัฐบาลได้วางแนวทางไว้ให้กับผู้คนทั่วไปได้มีกรอบในการปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งแบบเก่าที่เคยออกกฎมานานหลายปี และกฎใหม่ที่เพิ่งออกมาภายในปีนี้

1 ห้ามจำหน่ายสุราในที่สาธารณะ และเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
โดยปกติแล้วในข้อห้ามนี้มีกฎหมายรองรับอยู่แล้วตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กพ.ศ.2546มาตรา26(10)มีการห้ามมิให้ ผู้ใดจำหน่ายแลกเปลี่ยนหรือให้สุราแก่เด็กไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่ เป็นการปฏิบัติทางการแพทย์ หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3เดือน หรือปรับ ไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2 ห้ามใช้ปืนฉีดน้ำหรือกระบอกน้ำที่มีแรงดันสูง
ข้อนี้เป็นกฎที่เคยถูกนำมาใช้แล้วเมื่อหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากผู้ที่เกี่ยวข้องมองว่าอาจเกิดอันตรายกับผู้ที่ขับขี่มอเตอร์ไซค์ได้ หากถูกปืนฉีดน้ำแรงดันสูงฉีดใส่ระหว่างขับรถ หรือแม้แต่อาจทำอันตรายต่อดวงตาของผู้คนทั่วไปได้

3 ห้ามโป๊-เปลือย
เรียกว่ามีให้เห็นกันทุกปีสำหรับกรณีการเล่นสงกรานต์แบบโป๊ เปลือย ซึ่งสาเหตุหลักๆ ก็น่าจะมาจากความมึนเมาของฤทธิ์แอลกอฮอล์ รวมทั้งความคึกคะนองของแต่ละบุคคล

4 ห้ามเล่นแป้ง
ช่วงหลายปีหลังมานี้เรามักได้เห็นข่าวคราวการล่วงละเมิดทางเพศอันเกิดจากการเล่นแป้งในวันสงกรานต์กันมากขึ้น ผู้ที่เกี่ยวข้องจึงมองว่าการออกมาป้องกันการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวที่ต้นเหตุไว้น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

5 ห้ามสาดน้ำหลังรถกระบะขณะที่รถกำลังเคลื่อนที่ (อนุญาตเฉพาะบางพื้นที่)
ข้อนี้ต้องบอกว่าถูกวางไว้เป็นแนวทางให้ผู้คนได้ทำตามปีนี้เป็นปีแรก ซึ่งทางผู้ที่เกี่ยวข้องให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นการลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น โดยสามารถเล่นน้ำบนท้ายรถกระบะได้แต่ต้องจอดรถ แต่หากจะเล่นสาดน้ำบนรถขณะรถวิ่ง ให้เล่นในพื้นที่ชุมชนถนนสายรอง ส่วนสถานที่อื่นๆ ที่มีการจัดงานสงกรานต์บนถนนสายหลักนั้น สามารถผ่อนปรนให้เล่นสาดน้ำบนท้ายรถกระบะได้

6 ขับรถเร็ว เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
เอาเข้าจริงๆ แล้ว ข้อนี้หากว่ากันตามหลักการแล้วนับว่าเป็นอะไรที่น่าทำตามเพื่อความปลอดภัยของทุกคนเอง เพราะหากย้อนดูสถิติที่ผ่านมาพบว่า หนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุได้แก่การขับรถเร็วนั่นเอง

7 เมาแล้วขับ
ข้อนี้ไม่ว่าจะเทศกาลใด หรือวันไหนๆ ก็ไม่ควรฝ่าฝืนด้วยประการทั้งปวงอยู่แล้ว โดยทางเจ้าหน้าที่จะยึดตามกฎหมาย คำสั่ง คสช.ที่ 46/2558 คือ เมาแล้วขับตรวจจับยึดรถ และคำสั่ง คสช.ที่ 14 และ 15/2560 ที่มุ่งดูแลความปลอดภัยทั้งรถยนต์ส่วนบุคคลและรถโดยสารสาธาณะ

8 ห้ามจัดกิจกรรมรื่นเริงเกินเหตุ
ข้อสุดท้ายเป็นไปตามสถานการณ์บ้านในเมืองในระยเวลานี้

ภาพประกอบจาก : Internet

keyboard_arrow_up