เหตุ ส.ค.ส ฉบับ ๒๕๔๘ จากเหนือเกล้าที่หายไปและรวม 30 ฉบับ ส.ค.ส พระราชทาน

ลวดลายต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บน ส.ค.ส. พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชล้วนถูกออกแบบด้วยพระองค์เอง ซึ่ง ส.ค.ส.พระราชทาน จากปีแรก ยังไม่มีการตกแต่งลวดลายใดๆ มากนัก ข้อความที่ปรากฏอยู่ มีใจความสั้น กระชับ เรื่อยมาจนถึงช่วงระหว่างปี 2532 – 2537 ได้เริ่มมีการประดับประดา เติมความสวยงามลงในรูปทรง ของส.ค.ส. มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นลายเส้นตรง เส้นเฉียง รูปดาวต่างๆ จนกระทั่งปี 2538 เป็นต้นมา ลวดลายที่ปรากฏจะยากขึ้นตามลำดับ มีภาพเครื่องดนตรีหลากชนิด ภาพหัวใจ ภาพประกอบในพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเกิดขึ้นจากฝีพระหัตถ์แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทั้งสิ้น

ในหลวง03

ในขณะที่ช่วงปีใหม่ นอกจากการส่งมอบของขวัญหรือการ์ดอวยพรให้แก่กัน ทุกๆ ปีเราปวงชนชาวไทยต่างเฝ้ารอพรสูงสุดจากพ่อหลวง เพื่อเก็บเป็นคำอวยพรในการเริ่มต้นปีอย่างมีความสุข สุขสมหวังตลอดปี โดย ส.ค.ส.พระราชทาน เสมือนบัตรส่งความสุขที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงประดิษฐ์ขึ้นด้วยพระองค์เอง เพื่อพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ เป็นประจำทุกปี (ยกเว้น พ.ศ. 2548)

ที่มาของ ส.ค.ส.พระราชทาน

และในวันสิ้นปี (31 ธันวาคม) ของทุกปี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพร เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีโทรทัศน์ทุกสถานี นอกจากนี้ ยังทรงปลีกเวลาจากพระราชกรณียกิจ มาปรุแถบโทรพิมพ์ (เทเล็กซ์) พระราชทานพรปีใหม่ แก่เจ้าหน้าที่ผู้ถวายงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท ซึ่งส.ค.ส.พระราชทานแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2529 ซึ่งเป็น ส.ค.ส.พระราชทานสำหรับปี 2530 โดยทรงใช้รหัสแทนพระองค์ว่า กส.9 เช่นเดียวกับที่ทรงใช้ติดต่อทางวิทยุสื่อสาร ทรงระบุท้ายโทรพิมพ์ว่า กส.9

ส.ค.ส. พระราชทาน 2530
ส.ค.ส. พระราชทาน 2530

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้กล่าวถึง กำเนิด ส.ค.ส. พระราชทานฉบับแรก พร้อมบอกเล่าถึง รูปแบบ ความหมาย คุณค่าที่สอดแทรกอยู่ใน ส.ค.ส. พระราชทานแต่ละปีว่า ส.ค.ส. พระราชทานแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกโดยมีเนื้อความถึงเจ้าหน้าที่ และสมาชิกผู้เกี่ยวข้อง กส.9 ขอขอบใจทุกคน และถือโอกาสอวยพร ปีใหม่ ด้วยถ้อยคำต่าง ๆ ให้พิจารณา ดังต่อไปนี้

เห็นตรง                  พูดไพเราะ                จิตมั่นคง

เห็นเพียร                งามสุจริต                  คิดดีสงบ

แจ้งสว่าง                สวยงาม                    ร่มเย็น

เป็นทางขจัดทุกข์โศก บรรลุความสุกความเจริญ

โดยทุกข้อความและถ้อยคำที่ปรากฏอยู่ใน ส.ค.ส. พระราชทานแต่ละปี จะประมวลขึ้นจากสภาพเหตุการณ์บ้านเมือง โดยมุมหนึ่งได้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ ที่ประเทศชาติต้องประสบในรอบระยะ 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งถึงแม้ว่าคำอวยพรดังกล่าวจะเป็นเพียงถ้อยคำสั้น ๆ แต่ก็มากด้วยคุณค่า ความหมายและคติเตือนใจที่มุ่งเน้นในการกระตุ้นเตือนให้ประชาชนชาวไทยมีขวัญ กำลังใจ ต่อสู้ และฝ่าฟันอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้าอย่างไม่ย่อท้อ

 ส.ค.ส. พระราชทาน 2531
ส.ค.ส. พระราชทาน 2531

ส.ค.ส.พระราชทาน ที่เป็นโทรพิมพ์เหล่านี้ เริ่มเผยแพร่สู่สาธารณชน เมื่อปี พ.ศ. 2530 เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น จึงได้ทรงเริ่มต้นประดิษฐ์ ส.ค.ส.พระราชทาน ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนพระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยทรงพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ขาวดำ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โทรสาร (แฟกซ์) พระราชทานไปยังหน่วยงานต่างๆ โดยข้อความใน ส.ค.ส.พระราชทาน แต่ละปีจะประมวลขึ้นจากเหตุการณ์บ้านเมือง เพื่อสะท้อนให้เห็นปัญหา และอุปสรรคต่างๆ ที่ประเทศไทยต้องประสบ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ในปีต่อๆ มา หนังสือพิมพ์รายวันได้นำลงตีพิมพ์ในฉบับเช้าวันที่ 1 มกราคม เพื่อให้พสกนิกรได้ชื่นชมอย่างทั่วถึง

ส.ค.ส. พระราชทาน 2532
ส.ค.ส. พระราชทาน 2532
ส.ค.ส. พระราชทาน 2533
ส.ค.ส. พระราชทาน 2533
ส.ค.ส. พระราชทาน 2534
ส.ค.ส. พระราชทาน 2534
ส.ค.ส. พระราชทาน 2535
ส.ค.ส. พระราชทาน 2535
ส.ค.ส. พระราชทาน 2536
ส.ค.ส. พระราชทาน 2536
ส.ค.ส. พระราชทาน 2537
ส.ค.ส. พระราชทาน 2537
ส.ค.ส. พระราชทาน 2538
ส.ค.ส. พระราชทาน 2538
ส.ค.ส. พระราชทาน 2539
ส.ค.ส. พระราชทาน 2539
ส.ค.ส. พระราชทาน 2540
ส.ค.ส. พระราชทาน 2540

นับแต่ทรงใช้คอมพิวเตอร์ประดิษฐ์ ส.ค.ส.พระราชทาน ทรงเปลี่ยนแปลงคำลงท้ายของ ส.ค.ส.พระราชทาน เป็น ก.ส.9 ปรุง เนื่องจากทรงเปลี่ยนจากการ “ปรุ” ด้วยโทรพิมพ์ เป็นการ “ปรุง” ด้วยคอมพิวเตอร์ ถัดจากนั้น จะทรงระบุวันและเวลาที่ทรงประดิษฐ์ขึ้น เป็นรูปแบบเฉพาะ

ส.ค.ส. พระราชทาน 2541
ส.ค.ส. พระราชทาน 2541
ส.ค.ส. พระราชทาน 2542
ส.ค.ส. พระราชทาน 2542
ส.ค.ส. พระราชทาน 2543
ส.ค.ส. พระราชทาน 2543
ส.ค.ส. พระราชทาน 2544
ส.ค.ส. พระราชทาน 2544
ส.ค.ส. พระราชทาน 2545
ส.ค.ส. พระราชทาน 2545
ส.ค.ส. พระราชทาน 2546
ส.ค.ส. พระราชทาน 2546
ส.ค.ส. พระราชทาน 2547
ส.ค.ส. พระราชทาน 2547
ส.ค.ส. พระราชทาน 2548
ส.ค.ส. พระราชทาน 2548

ส.ค.ส ที่หายไป ปี ๒๕๔๘ 

ในปี พ.ศ.2548 ไม่มี ส.ค.ส. พระราชทาน เนื่องจากเกิดเหตุการณ์คลื่นสึนามิ จากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ.2547 ซึ่งนายขวัญแก้ว วัชโรทัย ประธานมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้สัมภาษณ์ว่า ตนได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่พระองค์จะพระราชทานพระราชดำรัสเนื่องในวันปีใหม่ ซึ่งหลังจากที่พระองค์พระราชทานเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงตรัสว่า ปีใหม่ปีนี้ไม่ ส.ค.ส.พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะพระองค์ทรงทำงานอย่างหนักในการให้ความช่วยเหลือประชาชนชาวใต้ที่ได้รับความเดือดร้อน

นายขวัญแก้วกล่าวอีกว่า นอกจากนี้พระองค์ยังทรงตรัสอีกว่า พระองค์ทรงรู้สึกปลื้มใจที่คนไทยไม่ทิ้งกัน เวลาเดือดร้อนก็ช่วยเหลือกัน เป็นเรื่องที่ดีมากๆ ซึ่งการที่คนไทยได้ช่วยเหลือกันครั้งนี้เหมือนเป็นหลักประกันให้พระองค์ว่า เมื่อไรที่พระองค์เดือดร้อนก็จะมีคนมาช่วย สิ่งที่ทุกคนทำผลบุญก็จะส่งให้กับผู้ที่ให้การช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนด้วย ซึ่งพระองค์ทรงตรัสว่า ทรงปลื้มใจคนไทยที่ให้ความช่วยเหลือทุกคน ไม่รังเกียจว่าเป็นคนชนชาติไหน

ส.ค.ส. พระราชทาน 2549
ส.ค.ส. พระราชทาน 2549
ส.ค.ส. พระราชทาน 2550
ส.ค.ส. พระราชทาน 2550
ส.ค.ส. พระราชทาน 2551
ส.ค.ส. พระราชทาน 2551
ส.ค.ส. พระราชทาน 2552
ส.ค.ส. พระราชทาน 2552
ส.ค.ส. พระราชทาน 2553
ส.ค.ส. พระราชทาน 2553
ส.ค.ส. พระราชทาน 2554
ส.ค.ส. พระราชทาน 2554
ส.ค.ส. พระราชทาน 2555
ส.ค.ส. พระราชทาน 2555
ส.ค.ส. พระราชทาน 2556
ส.ค.ส. พระราชทาน 2556
ส.ค.ส. พระราชทาน 2557
ส.ค.ส. พระราชทาน 2557
ส.ค.ส. พระราชทาน 2558
ส.ค.ส. พระราชทาน 2558
ส.ค.ส. พระราชทาน 2559
ส.ค.ส. พระราชทาน 2559

และเป็นที่ทราบกันดีว่า ส.ค.ส. พระราชทานทุกปี ล้วนมีความหมายลึกซึ้งซ่อนอยู่ภายใน ไม่ว่าจะเป็นโดยตรงจากข้อความ จากลวดลาย หรือแม้กระทั่งสีสันที่ปรากฏ ซึ่งเราสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ส.ค.ส. ที่พระองค์พระราชทานในแต่ละปี ล้วนเป็นสีขาว-ดำ ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดร.สุเมธ ได้แสดงทรรศนะถึงความตั้งพระราชหฤทัยในการจัดทำ ส.ค.ส. ด้วยสีดังกล่าวตลอดปีที่ ผ่านมาว่า

” เป็นสิ่งที่พระองค์ทรงต้องการสะท้อนให้ลูกหลานไทยได้เห็นถึงตัวอย่างของความประหยัด มัธยัสถ์ สิ่งของหลาย ๆ สิ่งแม้จะไม่มีสีสันดึงดูดตา แต่ก็มากมายด้วยความหมาย พระองค์พยายามทำทุกสิ่งให้เกิดประโยชน์ตลอดเวลา ทรงรักความเรียบง่าย ยึดมั่นในความหมาย และคุณค่า ของสรรพสิ่งเป็นที่ตั้ง มากกว่าจะมองกันที่ความสวยงาม ฟุ้งเฟ้อ”

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา นับตั้งแต่พระองค์เป็นองค์ประมุขปกครองแผ่นดินสยาม ทรงไม่เคยทอดทิ้งประชาชน ไม่ว่าชาติบ้านเมืองจะเกิดวิกฤติใด ๆ พระองค์ได้พระราชทานพระราชดำรัสเตือนสติปวงชนชาวไทยในโอกาสสำคัญเสมอ ๆ

เฉกเช่นเดียวกับพรพรพระราชทานปีใหม่ในแต่ละปีที่เปรียบประดุจน้ำทิพย์ชโลมใจเหล่าข้าพสกนิกรให้ดำรงตนอยู่ในความดี มีความรอบคอบ และทำหน้าที่ของตนให้เกิดประโยชน์ ต่อสังคมและประเทศชาติส่วนรวมอย่างแท้จริง

keyboard_arrow_up