fast fashion_2

ที่โลกร้อนขึ้นอาจเป็นเพราะ Fast Fashion เสื้อผ้าราคาประหยัด ซื้อง่าย ไปไว ตัวการทำลายทรัพยากรโลก

fast fashion_2
fast fashion_2

ที่โลกร้อนขึ้นอาจเป็นเพราะ Fast Fashion เสื้อผ้าราคาประหยัด ซื้อง่าย ไปไว ตัวการทำลายทรัพยากรโลก

ทุกวันนี้คุณแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าราคาประมาณเท่าไรต่อชิ้น? ถ้าคำตอบที่ได้คือใส่อะไรก็ได้ในราคาไม่แพงมาก เบื่อเมื่อไรก็สามารถซื้อใหม่ได้ เป็นพวกเสื้อยืดธรรมดาหรือเชิ้ตที่ใช้ได้ในชีวิตประจำวันทั้งทำงานและไปเที่ยว ถ้าทั้งหมดนี้คือคำตอบของคุณ นั่นแสดงว่าคุณกำลังตกเป็นเหยื่อของ Fast Fashion และกำลังทำตัวเป็นอาชญกรทำลายทรัพยากรโลกอยู่

Fast Fashion

Fast Fashion คืออะไร?

ถ้านึกแบรนด์แบบเร็วๆ อาจเปรียบเปรยได้กับ ZARA, FOREVER 21, H&M หรืออุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าในรูปแบบจำนวนมาก มาไวไปไว ผลิตเสื้อผ้าตามสมัยนิยม และเน้นขายปริมาณมากๆ ราคาถูก ยิ่งเมื่อตลาดออนไลน์และธุรกิจอีคอมเมิร์ซได้รับความนิยมมากขึ้น ผู้บริโภคยิ่งสามารถช็อปปิ้งเสื้อผ้าได้ง่ายและบ่อยกว่าเดิม ในขณะที่อุตสาหกรรม Fast Fashion เติบโตอย่างรวดเร็ว อีกด้านหนึ่งมันถือเป็นตัวเร่งทำให้ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม หรือตัวการทำโลกร้อนที่สำคัญ

ทำไม Fast Fashion ถึงราคาถูก

ใช้ตัวผ้าในการผลิตที่ราคาถูก ลองสังเกตุดูให้ดี แค่ซักไม่กี่ทีคุณภาพของเนื้อผ้าอาจลดลง หรือรายละเอียดของเสื้อผ้าไม่มีฟังก์ชั่นอะไรที่ซับซ้อน เป็นการตัดเย็บง่ายๆ รวมถึงอีกหนึ่งปัจจัย คือแรงงานในการผลิตที่จ้างราคาถูก แฟชั่นเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรเป็นปริมาณมาก ทั้งในรูปแบบทรัพยการธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์

Fast Fashion_3

ที่โลกเราร้อนขึ้นส่วนหนึ่งอาจมาจาก Fast Fashion

ด้วยสินค้าราคาถูกที่ต้องอาศัยการผลิตจำนวนมากเพื่อได้กำไร วัสดุที่ใช้จึงต้องเกิดการดึงมาใช้มากด้วยเช่นกัน ซึ่งวัสดุหลักๆ ที่ถูกใช้มากที่สุดใน Fast Fashion ได้แก่ “ฝ้าย” ซึ่งถือว่าเป็นพืชที่สูบทรัพยากรน้ำมาก เนื่องจากการผลิตเสื้อผ้าฝ้าย 1 ตัว ต้องการน้ำในการผลิตฝ้ายถึง 2,700 ลิตร หรือมีค่าเท่ากับปริมาณน้ำที่คนหนึ่งคนต้องการในระยะเวลา 2.5 ปี

การเลือกวัตถุดิบในอุตสาหกรรมแฟชั่นมีผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีนัยสำคัญ หนึ่งในวัตถุดิบยอดนิยมราคาถูกคือใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ ซึ่งนำมาใช้แทนที่ฝ้ายอย่างแพร่หลาย

อย่างไรก็ตาม การผลิตโพลีเอสเตอร์ในภาพรวมทั่วโลกปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าฝ้ายถึงสองเท่า โดยปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 706,000 ล้านกิโลกรัมในปี 2558 หรือเทียบเท่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโรงไฟฟ้าถ่านหิน 185 โรงในหนึ่งปี

อุตสาหกรรมแฟชั่นในภาพรวมปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นสัดส่วน 5% ของแหล่งปล่อยก๊าซทั้งหมด เทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมการบินเลยก็ว่าได้

fast fashion_4

Fast Fashion จะเป็นอย่างไรในอนาคต?

ในอนาคตอุตสาหกรรมนี้อาจจะยิ่งได้รับความนิยมมากกว่าเดิม รวมถึงเพิ่มจำนวนการผลิตให้มากขึ้น แต่อย่าเพิ่งมองว่ามันคือความหายนะของโลก ถ้าแบรนด์สินค้ามีการออกแบบเสื้อผ้าที่ผลิตให้สามารถย่อยสลายได้ง่ายขึ้น หรือสามารถนำตัวเก่ากลับมาผลิตซ้ำได้ โดยไม่ต้องพึ่งทรัพยากรที่มากขึ้น

นอกจากนี้ การมีธุรกิจใหม่เกิดขึ้นอย่างการเช่าเสื้อผ้า หรือการซื้อเสื้อผ้ามือสอง ก็ช่วยลดอัตราการสิ้นเปลืองในการผลิตได้ และเมื่อผู้คนเริ่มตระหนักถึงภาวะโลกที่ร้อนขึ้น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการขาดแคลนน้ำ, พลังงานที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เราหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคสิ่งของเครื่องใช้ได้มากขึ้นนั่นเอง

keyboard_arrow_up