ศิลปะ พาข้าม

ศิลปะ พาข้าม : เมื่อการออกแบบทำให้ทางม้าลายเป็นมากกว่าแค่ทางข้ามสีขาวดำ

ศิลปะ พาข้าม
ศิลปะ พาข้าม

ศิลปะ พาข้าม :

เมื่อการออกแบบทำให้ทางม้าลายเป็นมากกว่าแค่ทางข้ามสีขาวดำ

What happened in Siam Square?

ศิลปะ พาข้าม

ถ้าคุณบังเอิญเดินผ่านบริเวณสยามสแควร์ซอย 1 2 3 แล้วสะดุดตาเข้ากับลวดลายการ์ตูนสีสันสดใส ซึ่งถูกเพ้นต์ไว้บนถนนอย่างสนุกสนาน และคิดว่านี่เป็นชิ้นงานสุดอาร์ตของศิลปินสักคนหนึ่ง คุณคิดผิด! เพราะที่จริงแล้วนี่คือ ‘ทางม้าลาย’

ใครบอกว่า ‘ทางม้าลาย’ ต้องเป็นสีขาวดำ? ชวนคุณข้ามถนนบนทางม้าลายแห่งความคิดสร้างสรรค์ เมื่องานศิลปะสาธารณะ ทำให้การเดินเท้าของคุณปลอดภัยขึ้น ใน Art and Crossing ศิลปะ พา ข้าม

Art and Crossing ศิลปะ พา ข้าม

ศิลปะ พาข้าม

คือหนึ่งในผลงานของโครงการ “ศึกษาแนวทาง การออกแบบพื้นที่สาธารณะ ที่มีความยืดหยุ่นต่อกิจกรรมที่หลากหลายภายในบริบทเมือง” ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CUURP) สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) เป็นผู้ดำเนินการ ออกแบบและจัดทำ พื้นที่สาธารณะต้นแบบ ทางข้ามถนนในย่านพาณิชยกรรมเมือง

ศิลปะ พาข้าม

ด้วยการใช้แนวคิด “ศิลปสาธารณะ” หรือการใช้ศิลปะเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อพื้นที่สาธารณะ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการเดินเท้าอย่างปลอดภัย ส่งเสริมการใช้ทางข้าม ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้สาธารณะ (Public Awareness) เกี่ยวกับการให้ความสำคัญกับผู้ใช้ทางเท้าและการใช้พื้นที่สาธารณะของคนเมือง โดยมี พื้นที่ทางข้ามต่อเนื่อง 3 จุด ระหว่างสยามสแควร์ซอย 1 สยามสแควร์ซอย 2 และ สยามสแควร์ซอย 3 เป็นพื้นที่นำร่องสำคัญ

สยามสแควร์ คือย่านพาณิชยกรรมใจกลางเมืองของกรุงเทพมหานคร ที่เต็มไปด้วยผู้คนและรถที่สัญจรผ่านไปมา ตามหลักการออกแบบเมืองแล้ว พื้นที่บริเวณนี้ควรออกแบบเพื่อให้คนเดินเท้ามีความสะดวกสบายมากกว่าผู้ขับขี่ยานพาหนะอื่น ๆ แต่สิ่งที่เราพบเห็นอยู่ในปัจจุบันคือผู้คนจำนวนหนึ่งยังต้องยืนรอจังหวะที่ถนนไม่มีรถก่อนจึงจะข้ามถนนได้

ซึ่งปรากฎการณ์นี้อาจเกิดได้จากหลายปัจจัย หลายครั้งเราอาจจะโทษมารยาทในการขับขี่ แต่จริง ๆ แล้วอาจเกิดจากการออกแบบพื้นที่เมืองที่ให้ความสำคัญกับคนเดินเท้าไม่มากพอ การออกแบบสภาพแวดล้อมที่ไม่ให้ความรู้สึกถึงความเป็นสถานที่ส่งผลให้ผู้ขับขี่ไม่ระมัดระวังผู้คนเดินเท้า

Art and Crossing ศิลปะ พา ข้าม

‘Art and Crossing ศิลปะ พา ข้าม’ จึงจะช่วยให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะรับรู้ถึงทางข้ามได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ชะลอการสัญจรให้ช้าลง (Traffic Calming) ในพื้นที่ๆ มีคนเดินข้ามถนน เพื่อความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคนเดินเท้า นอกจากนี้ยังดึงดูดใจและทำให้คนเดินทางถนนรู้สึกมึคุณค่าที่จะใช้งานอีกด้วย

Meet the artist.

Art and Crossing ศิลปะ พา ข้าม

ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน ‘Art and Crossing ศิลปะ พา ข้าม’ คือ คุณเชิดศักดิ์ เม้ยขันหมาก หรือชื่อที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในแวดวงศิลปะว่า ‘2choey’

นอกจากความเชี่ยวชาญในงานศิลปะสาธารณะแล้ว ‘2choey’ ยังเป็นศิษย์เก่า ภาควิชาการวางแผนภาคและเมืองคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้สามารถสร้างสรรค์ทางข้ามถนนที่สวยงามโดดเด่นแล้ว และยังถูกต้องตามหลักการออกแบบ แถมยังปลอดภัยเป็นมิตรกับผู้ข้ามอีกด้วย

Art and Crossing ศิลปะ พา ข้าม

โดยคอนเซ็ปต์หลักในการออกแบบลวดลาย ‘Art and Crossing ศิลปะ พา ข้าม’ ของ ‘2choey’ คือ ‘สนามเด็กเล่นของคนเมือง’ เนื่องจากต้องการสะท้อนภาพสยามสแควร์ว่า เป็นสถานที่แห่งการสร้างความสุขสนุกสนานเพลิดเพลินให้กับคนเมืองมา ในทุกยุคทุกสมัย นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรวมผลงาน เปรียบได้กับที่ปล่อยของ ของกลุ่มวัยรุ่น นักแสดงศิลปิน นักออกแบบสร้างสรรค์ ที่ได้มาโชว์ความสามารถด้านศิลปะในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ด้านแฟชั่น ดนตรี และด้านการแสดง ณ สถานที่แห่งนี้

‘2choey’ เลือกใช้สีสันและรูปร่างตัวการ์ตูนตามจินตนาการ ในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ เพื่อความเด่นชัด เป็นที่สะดุดตา และสื่อถึงความเป็นมิตร เช่นเดียวกับรูปแบบการใช้งานของ ‘Art and Crossing ศิลปะ พา ข้าม’ ที่ผู้คน จักรยาน รถยนต์ และมอร์เตอร์ไซต์ สามารถแบ่งปันพื้นผิวถนนร่วมกันได้อย่างเป็นมิตร

Public art as a part of safety city.

Art and Crossing ศิลปะ พา ข้าม

เมื่อศิลปะสาธารณะกลายเป็นส่วนหนึ่งของเมืองที่ปลอดภัย ดังนั้นหากถามว่างานศิลปะจะช่วยให้เมืองปลอดภัยขึ้นได้อย่างไร? คำตอบคือศิลปะจะทำให้บริเวณทางข้ามถนนมองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น เป็นเหมือนสัญลักษณ์เตือนแก่ผู้ขับขี่ ช่วยสานต่อให้ทางม้าลายและทางเท้ากลายเป็นพื้นที่เดียวกัน และแฝงนัยยะว่าพื้นที่ดังกล่าวให้ความสำคัญกับคนเดินเท้ามาเป็นลำดับแรก

Art and Crossing ศิลปะ พา ข้าม

นอกจากนี้ ศิลปะจะช่วยส่งเสริมความเป็นสถานที่บริเวณนั้น และเพิ่มความระมัดระวังให้ผู้ขับขี่มากไปกว่านั้น ศิลปะ จะยิ่งดึงดูดผู้คนให้มีการเดินเท้าเข้ามายังพื้นที่มากขึ้นและเพิ่มความคึกคักให้กับย่านอีกด้วย ดังนั้นเมื่อเมืองปลอดภัย ก็จะส่งผลให้ผู้คนในเมืองมีการเดินมากขึ้น นำไปสู่การเป็นเมืองสุขภาวะและเมืองน่าอยู่ต่อไป

What happened around world?

ทางม้าลายบริเวณ Universal Studio, Japan

weburbanist.com

Cr – www.weburbanist.com

ทางม้าลายที่มีการออกแบบตัวการ์ตูน 3 มิติ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้คนที่ผ่านไปมา โดยใช้เทคนิคพิมพ์แผ่นสติกเกอร์ขนาดใหญ่ ติดลงไปบนถนน เช่น กลุ่ม Peanuts บนทางม้าลาย โดยทำท่าเดินข้ามถนนเลียนแบบปกอัลบั้ม Abbey Road ของ The Beatles

ทางม้าลาย ย่าน Didube เมือง Tbilisi, Georgia

ทางม้าลาย

Cr – www.georgianjournal.ge

ทางม้าลายสามมิติ เพื่อส่งเสริมความปลอดภัย โดยการสร้างความโดดเด่นและทำให้มองเห็นทางม้าลายได้ชัดเจนขึ้นกว่าทางม้าลายทั่วไป

 

 

 

keyboard_arrow_up