ในหลวง รัชกาลที่ 9

น้อมรำลึก..รวมบทเพลงสรรเสริญพระบารมีของในหลวง รัชกาลที่ 9 ฉบับฉายในโรงภาพยนตร์

ในหลวง รัชกาลที่ 9
ในหลวง รัชกาลที่ 9

น้อมรำลึก..รวมบทเพลงสรรเสริญพระบารมีของ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ฉบับฉายในโรงภาพยนตร์

“เพลงสรรเสริญพระบารมี” ถือเป็นบทเพลงบรรเลงเพื่อสรรเสริญพระบารมีแห่งพระมหากษัตริย์ไทย แต่เดิม “เพลงสรรเสริญพระบารมี” นั้น ถูกใช้เป็นเพลงชาติในระหว่างปี พ.ศ. 2431 – 2475 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เป็นต้นมา

จุดเริ่มต้นของเพลงสรรเสริญพระบารมี สืบเนื่องมาจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) มีการใช้เพลง “God Save the King” ซึ่งถือเป็นเพลงปลุกใจ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมีของทางสหราชอาณาจักร มาใช้บรรเลงเป็นเพลงถวายความเคารพแด่องค์กษัตริย์ตามแบบอย่างการฝึกทหาร จวบจนมาถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีการเสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์และเกาะชวาในปี พ.ศ. 2414 ซึ่งทหารที่นั่นก็ได้ใช้เพลง God Save the King ในการบรรเลงเป็นเพลงพระเกียรติรับเสด็จเช่นเดียวกับทางสหราชอาณาจักร พระองค์จึงมีพระราชดำริแก่ครูดนตรีไทยให้แต่งเพลงรับเสด็จขึ้นใหม่เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน

เริ่มแรกเพลงสรรเสริญพระบารมีนั้นใช้ “เพลงบุหลันลอยเลื่อน” ที่มีการเรียบเรียบทำนองดนตรีขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2414 ต่อมาจึงได้เปลี่ยนเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีของ พระประดิษฐไพเราะ” (มี ดุริยางกูร) ที่ได้แต่งทำนองเพลงสรรเสริญพระบารมีขึ้นทูลเกล้าฯถวายในปี พ.ศ. 2416 โดยดัดแปลงมาจากเพลงสรรเสริญนารายณ์ของเก่า และได้ “ปโยตร์ ชูรอฟสกี้นักประพันธ์ชาวรัสเซียเป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสานสำหรับดนตรีตะวันตกในเวลาต่อมา ซึ่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์” ก็ได้ทรงนิพนธ์เนื้อร้องประกอบทำนองเพิ่มเติมและออกบรรเลงครั้งแรกที่ศาลาศาลายุทธนาธิกา

ภายหลังการปฏิวัติประเทศในปี พ.ศ. 2475 จึงทำให้เพลงสรรเสริญพระบารมีไม่ได้ถูกใช้ในนามเพลงชาติอีกต่อไป แต่ยังคงใช้ในเพลงที่แสดงออกถึงการสรรเสริญพระบารมีแห่งพระมหากษัตริย์ไทยจนถึงปัจุบัน


ข้อมูลประกอบ: th.wikipedia.org

เรื่องโดย: Nomad609

ภาพประกอบ: Major Cineplex

keyboard_arrow_up