สถาปนิกการเงิน

สถาปนิกการเงินแนะ 4 เคล็ดลับ “ปลุกเงินให้ทำงาน”

สถาปนิกการเงิน
สถาปนิกการเงิน

สถาปนิกการเงินแนะ 4 เคล็ดลับ “ปลุกเงินให้ทำงาน”

ในยุคที่คำว่า “ความอิสระทางการเงิน” และ “การวางแผนการเงิน” เป็นหัวข้อที่ผู้คนให้ความสนใจ เพื่อสร้างความมั่งคั่งให้ทรัพย์สินเติบโตตามเป้าหมาย หรือวางแผนให้อนาคตมีความมั่นคงทางด้านการเงิน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไปของแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะเป็น เตรียมแต่งงาน วางแผนเกษียณ ส่งลูกเรียนต่อ ฯลฯ พิทักษ์ สภาธรรม ในฐานะ สถาปนิกการเงิน หรือที่ปรึกษาทางการเงินและนักวางแผนการเงินอิสระ เจ้าของเพจ WealthyHealthyMe มีเคล็ดลับ 4 ข้อในการเตรียมทางเลือกเพื่อ “ปลุกเงินให้ทำงาน” ตามระยะเวลาในแต่ละช่วงวัยของชีวิต เพื่อสร้างไลฟ์สไตล์ทางเสถียรภาพทางการเงินให้เกิดขึ้นจริง!!

สถาปนิกการเงิน

ก่อนอื่นหากต้องการปลุกเงินให้ทำงาน ข้อแรกที่ต้องมี คือ “เงิน” โดยต้องจัดเงินฉุกเฉิน สำหรับรายจ่ายประจำล่วงหน้า 6 เดือน ซึ่งต้องกันเงินส่วนนี้ไว้สำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวันหากเกิดรายได้ที่เคยได้ประจำหยุดชะงัก และเป็นส่วนที่เหลือจากการอุดรอยรั่วทางการเงินต่าง ๆ อาทิ เจ็บป่วย อุบัติเหตุ รวมถึงความจำเป็นอื่น ๆ ไว้แล้ว คือ “งบสำหรับนำไปปลุกให้ทำงาน”

ข้อสอง “ซื้อนาฬิกา”  ซึ่งเปรียบเสมือนการเลือกสินค้าการเงินด้านการลงทุนให้เงินเติบโตที่เหมาะกับสไตล์ หรือเป้าหมายของตัวเอง โดยนำไปลงทุนในระยะต่าง ๆ ที่มีเป้าหมายแตกต่างกัน พูดง่าย ๆ คือ ซื้อนาฬิกาเพื่อกำหนดระยะเวลาในแต่ละช่วงของเป้าหมาย ซึ่งมีอยู่ 3 ระยะ “ระยะสั้น” สำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน สภาพคล่องสูง สามารถนำมาใช้ได้ทันที แต่อาจไม่ใช่เงินฝากออมทรัพย์ อาจเป็นกองทุนตราสารหนี้ ซึ่งให้ผลตอบแทนดีกว่าการออมทรัพย์ทั่วไป โดยให้ผลตอบแทน 2-3 % ในระยะเวลา 3-6 เดือน หรือ 1 ปี , “ระยะกลาง” สำหรับการวางแผนซื้อรถ บ้าน หรือแต่งงาน เป็นต้น สภาพคล่องระยะกลาง ได้แก่ กองทุนหุ้น หรือกองทุนผสมตราสารหนี้และหุ้น โดยกำหนดการลงทุน 3-5 ปี และ “ระยะยาว” สำหรับใช้ช่วงเกษียณ หรือการศึกษาบุตร สภาพคล่องระยะยาว ได้แก่ กองทุนหุ้นหรือหุ้นรายตัว ใช้ระยะเวลาในการลงทุน 10 ปีขึ้นไป

สถาปนิกการเงิน

ข้อสาม “การตั้งนาฬิกาปลุก” คือ ต้องกำหนดระยะเวลาในการลงทุนเพิ่มให้สม่ำเสมอ แบ่งเป็นรายเดือน รายไตรมาส และรายปี เมื่อมีรายได้ ต้องหักเงินออมตามเป้าหมายเพื่อไปลงทุนและถึงจะเป็นค่าใช้จ่าย อาจแบ่งออกเป็น 50/50  ครึ่งหนึ่งสำหรับใช้จ่าย และนำเงินอีกครึ่งหนึ่งไปปลุกให้ทำงาน ด้วยการลงทุน 3ระยะ คือ สั้น กลาง ยาว  ตามแผนที่วางไว้ ซึ่งจะทำให้เราใช้เงินอย่างมีจุดหมาย ไม่ใช่ใช้ไปเรื่อย ๆ จนหมด เหลือก็ลงทุน ไม่เหลือก็ไม่ลงทุน หรือแม้แต่วางเงินไว้ในที่ ๆ ไม่สามารถทำให้ถึงเป้าหมายได้แน่นอน (เงินขี้เกียจ)

สุดท้าย ข้อสี่ “ยกเลิกการตั้งนาฬิกาปลุก” เมื่อถึงเวลาตามเป้าหมายแต่ละช่วงเท่านั้น เพราะบางคนคงไม่อยากเก็บเงินทั้งชีวิต และเมื่อถึงเป้าหมายในแต่ระยะ ก็สามารถยกเลิกนาฬิกาตัวนั้นได้ สิ่งสำคัญคือ อย่าผัดวันประกันพรุ่ง หรือเลื่อนเวลาในการปลุกนาฬิกาไปเรื่อยๆ นั่นหมายถึง เราเลื่อนเป้าหมายเราไปเรื่อยๆ

สถาปนิกการเงิน

สถาปนิกทางการเงิน ทิ้งท้ายว่า จำนวนนาฬิกาของแต่ละคนไม่เท่ากัน และการตั้งปลุก ก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันแน่ ๆ คือ ถ้าไม่เริ่มต้นตั้งนาฬิกาปลุกให้เงินไปทำงาน ตัวเราเองนี่แหละที่จะต้องถูกปลุกไปทำงานแทนทั้งชีวิต!!

สถาปนิกการเงิน

ติดตามคำแนะนำดี ๆ เพื่อติดอาวุธลับการเงิน และช่วยให้กำหนดเป้าหมายชีวิตได้แจ่มชัดยิ่งขึ้น ได้ที่แฟนเพจ www.facebook.com/WealthyHealthyMe

keyboard_arrow_up