8 เหตุผลที่ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์หนักจนเกินไป
หากคุณเป็นหนุ่มสายปาร์ตี้ สายแข็ง บอกเลยว่าแอลกอฮอล์มีผลเสียต่อสุขภาพเยอะมาก (แต่ถ้าดื่มแบบพอดีก็มีผลดีอยู่เหมือนกัน) เราเชื่อว่าหนุ่มๆ หลายคนพอถึงเวลาปร์ตี้ก็ใส่กันแบบไม่ยั้งจนลืมคิดถึงผลกระทบที่จะตามมา นอกจากจะทำให้ขาดสติแล้ว หรือรู้ไม่ว่าแอลกอฮอล์ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพอีกเพียบ
- ตับแข็ง ตับอักเสบ ไขมันพอกตับ มะเร็งตับ ตับเป็นอวัยวะที่สำคัญในการทำลายแอลกอฮอล์ เมื่อแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกายแล้ว จะถูกดูดซึมเข้าลำไส้ แล้วส่งตรงไปยังตับเพื่อลาย เมื่อมีปริมารน้อยร่างกายก็ทนทานได้เมื่อมีปริมารมากขึ้นตับก็จะบวม มีไขมันไปแทรกตามเซลล์ของตับ เมื่อมีอาการนานเข้าจะทำให้เกิดโรคตับแข็งได้
- เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ แอลกอฮอล์ทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดลง ในขณะที่ฮอร์โมนเพศหญิงสูงขึ้น บางคนอาจมีหน้าอกใหญ่ขึ้น และสมรรถภาพทางเพศถดถอยลงได้นั่นเอง
- สมองเสื่อม ความจำเสื่อม เมื่อเริ่มดื่มสุราใหม่ ๆ จะทำให้ระบบควบคุมการทำงาน จะทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า มีการเปลี่ยนแปลงทางบุคลิก แต่เมื่อดื่มสุรามากขึ้นจะเกิดอาการมึนเมาง่วงนอนหลับ หมดสติ แต่สำหรับผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เรื้อรังจะส่งผลให้ความคิดเลอะเลือน เมื่อเป็นระยะนานขึ้นจะทำให้สมองเสื่อมทำให้การทรงตัวเสีย และมีอาการประสาทหลอนร่วมด้วย
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงด้วย การมีแอลกอฮอล์สะสมอยู่ในร่างกายปริมาณมากๆ จะทำให้การเต้นและการบีบตัวของหัวใจไม่ปกติ หัวใจเต้นเร็วขึ้น และขณะเดียวกันถ้าดื่มสุรามากจะขาดวิตามินบีหนึ่ง ก็จะทำให้กล้ามเนื้อของหัวใจทำงานไม่ดี ปัจจัยเหล่านี้จะทำให้เกิดหัวใจโต ทำงานไม่ได้ตามปกติ
- กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ จะส่งผลไปกระตุ้นให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ต้องเข้าห้องน้ำบ่อย
- กระเพาะอาหารอักเสบ ท้องเดิน และอาเจียน พิษของแอลกอฮอล์จะทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารถูกทำลาย ซึ่งกรดในกระเพาะก็จะเพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นแผลในกระเพาะ จะทำให้เกิดมีอาการปวดท้องหรืออาเจียนเป็นเลือดได้
- หลอดอาหารอักเสบ มะเร็งช่องปาก การเกิดมะเร็งในอวัยวะต่างๆ เป็นสาเหตุการตายอันดับที่สองของกลุ่มคนที่ติดแอลกอฮอล์เรื้อรัง และมีโอกาสเกิดมะเร็งสูงถึง10 เท่าเมื่อเทียบกับคนปกติ อวัยวะที่พบมะเร็งได้บ่อยคือหลอดอาหาร กระเพาะ ตับ และตับอ่อน
- เนื้อเยื่อบริเวณมือหนาและชา มือใช้งานได้ไม่ดี จะมีอาการชาตามเท้า รู้สึกหนาเหมือนใส่ถุงมือถุงเท้า หรือกล้ามเนื้อกลุ่ม Proximal หรือ datal อ่อนกำลังลง การฟื้นตัวจะช้ามาก ประมาณ 1 ปี แม้ว่าจะหยุดดื่มอย่างสิ้นเชิงแล้วก็ตาม
อ้างอิง: NHealth
ภาพจาก: unsplash