“อาการออฟฟิศซินโดรม” (Office Syndrome) ถือเป็นโรคที่เกิดจากกล้ามเนื้ออักเสบหรือความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อตรงบริเวณกระดูกสันหลัง ซึ่งโรคนี้มักเกิดกับพนักงานออฟฟิศที่ต้องทำงานอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานๆ หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งในท่าเดิมซ้ำๆ
แม้อาการในระยะแรกของโรคออฟฟิศซินโดรมอาจจะไม่รุนแรงมากนัก แต่หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาให้ถูกวิธี อาจจะลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรังและเกิดอันตรายต่างๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นการส่งผลต่อความสามารถในการมองเห็นที่ลดลง หรือบางคนอาจมีการแสดงออกทางอารมณ์อย่างโรคซึมเศร้าและความเหนื่อยล้าทางจิตใจด้วยเช่นเดียวกัน
จากข้อมูลเชิงสถิติของโรงพยาบาลสมิติเวช ได้เผยว่าร้อยละ 80 ของคนไทยที่ทำงานในออฟฟิศมักมีภาวะออฟฟิศซินโดรม ซึ่งในวันนี้เราได้นำเคล็ดลับจาก IWG ที่จะช่วยพิชิตอาการออฟฟิศซินโดรมให้หายไปมาฝากกันครับ
เพราะมนุษย์ออฟฟิศใช้เวลาในการนั่งทำงานอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง ลองลุกจากที่นั่งแล้วออกห่างจากคอมพิวเตอร์บ้าง เพื่อยืดเส้นยืดสายผ่อนคลายขยับร่างกาย อย่างน้อยทุก ๆ 20 นาที เพื่อป้องกันการปวดกล้ามเนื้อ อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการช่วยกระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัว นอกจากนี้ทุก ๆ 1 ชั่วโมง ลองเดินไปรอบ ๆ บริเวณโต๊ะทำงาน เพื่อยืดเส้นยืดสายผ่อนคลายกล้ามเนื้อ แขน ข้อมือและขา เพราะนอกจากจะช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจได้ดีแล้ว ยังเป็นการช่วยพักสายตาได้ดีอีกด้วย
คุณเคยมีอาการเมื่อยล้าทางสายตา (Digital eye strain) มาก่อนหรือไม่ นั่นคือผลกระทบที่คุณได้รับจากการจ้องมองคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานเกินไป ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงอาการเหล่านี้ ควรพักสายตาทุก ๆ 10 นาทีหรือกะพริบตา บ่อย ๆ เพราะจะช่วยให้ดวงตาของคุณชุ่มชื้นขึ้น หรือลองเนรมิตพื้นที่สีเขียวขนาดย่อมให้โต๊ะทำงานของคุณ เพื่อลดอาการปวดตา ในขณะเดียวกันการเข้าถึงแสงธรรมชาติอย่างเพียงพอ ยังสามารถช่วยลดผลกระทบของอาการปวดตา ซึ่งเป็นสาเหตุที่เราอยากแนะนำให้พนักงานออฟฟิศทุดท่านลองลดแสงจอคอมพิวเตอร์ลง เพื่อเป็นการลดปริมาณแสงสีน้ำเงินที่ปล่อยออกมาสัมพันธ์กับดวงตาให้น้อยที่สุด ซึ่งแสงสีน้ำเงินมักเป็นสีเจ้าปัญหาที่ทำให้เกิดความเครียดทางตามากกว่าสีอื่น ๆ
การทำงานอย่างหนักเป็นสิ่งที่น่ายกย่อง แต่คุณควรรู้ถึงขีดจำกัดของตนเองไว้เสมอ หัดสังเกตอาการปวดและความรู้สึกเหนื่อยล้าที่มักเป็นอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งอาการเหล่านี้คือสัญญาณที่ร่างกายกำลังฟ้อง เมื่ออาการปวดดูท่าจะไม่หายง่ายๆ ลองหากิจกรรมอื่น ๆ ทำเพื่อเป็นการผ่อนคลายบรรเทาอาการปวด ลองลุกขึ้น ดื่มน้ำ หรือออกไปเดินบ้างเพื่อยืดหยุ่นกล้ามเนื้อและรับอากาศบริสุทธิ์เพื่อเปลี่ยนทิวทัศน์ แล้วคุณจะกลับมานั่งโต๊ะทำงานเหมือนเดิมได้ด้วยความรู้สึกสดชื่น พร้อมลุยต่อได้!
ควรทำให้แน่ใจว่าพื้นที่ทำงานของคุณเหมาะกับการใช้งานตามหลักสรีรศาสตร์ของคุณ ซึ่งนั่นหมายถึง ความสูงของเก้าอี้ ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์บนโต๊ะทำงานต่าง ๆ รวมไปถึงท่านั่ง ซึ่งช่วยให้คุณมีความสุขและสนุกไปกับการทำงานแบบไม่ต้องปวดข้อ แต่ก็ต้องตรวจสอบให้มั่นใจอีกว่าความสูงของเก้าอี้นั้นไม่เตี้ยหรือไม่สูงจนเกินไป ควรอยู่ในจุดที่เหมาะสมที่สุดหรือเป็นตำแหน่งที่อยู่ในระยะสายตาที่คุณสามารถมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ รวมไปถึงระยะห่างคอมพิวเตอร์ควรอยู่ห่างจากคุณและดูให้แน่ใจว่าพื้นที่สำหรับวางเม้าส์นั้นเพียงพอต่อการรขยับแขนหรือไม่ แต่จะต้องพึงจำไว้ว่าแขนห้ามงอเด็ดขาด!
มนุษย์ออฟฟิศเองนอกจากจะทำงานแล้วควรดูแลสุขภาพตัวเองอย่างสม่ำเสมอด้วยเช่นกัน ควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายเป็นประจำ แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีอาหารใดที่จะช่วยบำรุงหรือป้องกันไม่ให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรมได้ แต่อาหารเพื่อสุขภาพอย่างเช่น ผัก ผลไม้ และไขมันจากปลาที่พอเหมาะ จะช่วยลดการอักเสบภายในร่างกายมากกว่ารับประทานอาหารจากคาร์โบไฮเดรตและอาหารแปรรูป และที่สำคัญห้ามลืมเด็ดขาด สำหรับการตรวจสุขภาพร่างกายอย่างเป็นประจำ เพราะถึงแม้ว่าอาการออฟฟิศซินโดรมอาจดูไม่รุนแรงในตอนแรก แต่หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ร้ายแรงต่อสุขภาพได้
เกี่ยวกับ IWG
ปัจจุบัน IWG บริษัทผู้ดูแลและบริหารแบรนด์พื้นที่สำนักงานชั้นนำพร้อมเปิดให้บริการแล้วกว่า 3,300 แห่ง ใน 1,100 เมืองใน 120 ประเทศ โดยลูกค้าในประเทศไทยสามารถเลือกใช้บริการได้ตามที่เอื้อต่อการทำงานจาก 3 แบรนด์ที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานของ IWG อย่าง รีจัส (Regus) สเปซเซส (Spaces) และ เอชคิว (HQ) ทั้งในกรุงเทพฯ ภูเก็ต เชียงใหม่และศรีราชา โดยแต่ละแห่งจะตั้งอยู่ในจุดศูนย์กลางธุรกิจที่เหมาะแก่กลุ่มผู้ประกอบการ (Entrepreneurs), สตาร์ทอัพ (Startup), เอสเอ็มอี (SMEs) ไปจนถึงบริษัทข้ามชาติรายใหญ่ สามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่ www.regus.co.th และ www.spacesworks.com