“Durag” คืออะไร? ทำไมกลายเป็นวัฒนธรรมของชาวฮิปฮอปผิวสี

Durag คืออะไร? ทำไมกลายเป็นวัฒนธรรมของชาวฮิปฮอปผิวสี

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาต้องยอมรับเลยว่ากระแสของเพลงฮิปฮอปในบ้านเราได้มาถึงจุดที่เรียกว่าแทบจะกลายเป็น “กระแสหลัก” ในอุตสาหกรรมดนตรีไปเรียบร้อยแล้ว สังเกตได้จากการเปิดตัวเพลงฮิปฮอปใหม่ๆ ทุกสัปดาห์หรือแม้แต่การได้รับเชิญไปร่วมฟีทเจอริ่งจากเหล่าศิลปินป็อปที่ต้องการสร้างความแตกต่างทางด้านดนตรี

และถ้าหากจะพูดถึงวัฒนธรรมของชาวฮิปฮอปสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือการประโคมตัวด้วยของฟู่ฟ่า เครื่องเพชร เครื่องเงิน ทอง หรือแม้แต่การใช้เงินสดมาเป็นพร้อพประกอบในเอ็มวี นอกจากนี้เรายังคงเห็น แร็ปเปอร์ หลายๆ คนนิยมสวมใส่ “Durag” หรือ “ผ้าโพกผม” อยู่เป็นประจำ (ไม่เว้นแม้แต่ Youngohm ในบ้านเรา) ซึ่งเพื่อนๆ เคยสงสัยหรือไม่ว่าเหตุใด พวกเขาจึงต้องนิยมใส่ผ้าโพกผมแบบนี้ วันนี้เรามีคำตอบมาให้ครับ

จุดเริ่มต้นของ Durag

ย้อนกลับไปในช่วงศตวรรษที่ 19 “Durag” หรือ “ผ้าโพกผม” กำเนิดขึ้นจากกลุ่มคนงานและทาสที่ต้องการความทะมัดทะแมงในการทำงาน หลังจากนั้นวัฒนธรรมการโพกผมด้วยผ้านี้เองที่ถูกส่งต่ออย่างรวดเร็วจนเกิดเป็น “Harlem Renaissance” หรือ “ศิลปะของชาวแอฟริกัน-อเมริกันที่เกิดใหม่” ในย่านฮาเล็มของนิวยอร์กผ่านช่วง 1930 ที่ Durag ไม่ได้กระจุกอยู่ในชนชั้นแรงงานผิวสีเท่านั้น แต่ยังกลายเป็นกลายเป็นแฟชั่นที่ถูกหยิบยกเอามาใส่เพื่อแสดงออกถึงการเคลื่อนไหว Black Power Movement ตั้งแต่ปลายปี 1960 – 2000 เป็นต้นมาผ่านนักกีฬาผิวสี นักร้องแร็ปเปอร์ (ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวผิวสี) ตลอดไปจนถึงผู้คนชาวแอฟริกันทั่วไปที่สวมใส่ Durag กันแทบจะตลอดเวลา

 

นอกจากนี้ Durag ยังถือเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยห่อเส้นผมและดูแลเส้นผมให้เป็นทรงของชาวผิวสีได้เป็นอย่างดี

การปิดกั้น Durag จากสังคม

และเพราะ Durag ไม่ได้เป็นเพียงแค่แฟชั่น แต่ Durag ยังกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ใส่รู้สึกถึงความ “เป็นพวกเดียวกัน” จึงทำให้หลายๆ ครั้งผู้คนต่างมองว่าการใส่ Durag ล้วนเป็นการแสดงออกถึงวัฒนธรรมแกงสเตอร์และความรุนแรง หลายๆ ที่จึงมักออกกฎห้ามใส่ Durag ไม่เว้นแม้แต่วงการกีฬาที่มีชาวผิวสีค่อนข้างมากอย่างทั้ง NFL และ NBA ต่างออกมาถกเถียงถึงความเหมาะสมในการให้นักกีฬาสวมใส่ Durag ในระหว่างการแข่งขัน

Solange Knowles – Met Gala 2018

การกลับมาของ Durag

ถึงแม้ชาวผิวสีรุ่นใหม่ๆ จะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกๆ สวมใส่ Durag เพื่อป้องกันการเหมารวมว่าเป็นแกงสเตอร์หรือพวกหัวรุนแรง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า Durag เป็นมากกว่าอุปกรณ์ในการสวมใส่เพราะ Durag เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ในการผลัดถิ่นของชาวผิวสีและการเคารพในการอยู่ร่วมกันในสังคม

Rihanna – Video Music Awards 2016

ภายหลังปี 2016 หลังจาก Rihanna หนึ่งในนักร้องผิวสีที่โด่งดังแห่งยุคหยิบเอา Durag ใส่ขึ้นเวที Video Music Awards เพื่อแสดงโชว์เพลง Rude boy และสวมใส่ Durag ไปร่วมงานแฟชั่น จึงทำให้ชาวชาวโลกได้สัมผัสกับบริบทของ Durag ในแง่ทางด้านแฟชั่นและความเป็นทางการ นอกจากนี้ยังมีคนดังอย่าง Blood Orange, Janet Mock และอีกมากมายที่ต่างยกระดับ Durag ให้กลายเป็นเครื่องประดับเพื่อแสดงออกถึงความมีสิทธิและเสรีภาพบนวัฒนธรรมที่แตกต่างอีกด้วย


เนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ส่อง 3 สไตล์การแต่งตัวที่แตกต่างของ 3 แร็ปเปอร์ดังแห่งยุค

พาไปส่อง 5 แร็ปเปอร์ ผู้สั่นสะเทือนวงการดนตรีและแฟชั่นโลก ณ ปัจจุบัน

© COPYRIGHT 2024 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.