อย่างที่เราจำกันได้ว่า สมัยเรียนเราจะแบ่งอาหารจำพวกถั่ว หรือ น้ำเต้าหู้ เครื่องดื่มรสอร่อยที่ทำจากถั่วเหลือง อยู่ในกลุ่มของแหล่งอาหารประเภทโปรตีน แต่แท้จริงแล้ว ในถั่วเหลืองยังอุดมไปด้วยสารอาหารอื่นๆ อีกมากมาย ทั้ง คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามิน A, B, C, D และ E นอกจากนี้ในเมล็ดถั่วเหลืองยังมีสาร “เลซิติน (Lecithin)” ที่ขึ้นชื่อว่าเป็น สุดยอดสารบำรุงสมอง เพิ่มความทรงจำ แถมยังมีส่วนช่วยลดไขมันและโคเลสเตอรอลในร่างกายได้อย่างดีเยี่ยม
ต้นกำเนิดน้ำเต้าหู้ จากแผ่นดินจีนโพ้นทะเล
สำหรับเครื่องดื่มชนิดนี้ คนเชื้อสายจีนจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่าสองพันปี เรียกว่ายาวนานมากๆ เป็นระดับตำนานเลยก็ว่าได้ครับ คนจีนเล่าต่อกันมาว่า น้ำเต้าหู้ ถือกำเนิดขึ้นในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก โดยมี ท่านหลิว อ๋องแห่งฮว๋ายหนาน มณฑลอานฮุย เป็นผู้ที่คิดค้นเมนูนี้ขึ้นมา เหตุเกิดจากท่านแม่ที่ล้มป่วย กินอะไรไม่ค่อยลง ท่านหลิวจึงพยายามคิดค้นเมนูใหม่ๆ ที่ช่วยให้ท่านแม่เจริญอาหารขึ้น วันหนึ่งท่านหลิวได้ลองนำเมล็ดถั่วเหลืองไปแช่น้ำข้ามคืนแล้วเอามาคั้นและกรองจนเหลือแต่น้ำ แล้วนำไปต้มให้ท่านแม่ดื่มเป็นประจำ ไม่นานนักอาการของท่านแม่ก็ทุเลาจนหายเป็นปกติ หลังจากนั้น น้ำเต้าหู้ จึงกลายเป็นที่รู้จักจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ เมืองฮว๋ายหนาน จึงได้รับการกล่าวขานว่าเป็น “แหล่งกำเนิดน้ำเต้าหู้” นั่นเอง
การเดินทางรอบโลกของน้ำเต้าหู้
ต่อมาในยุคราชวงศ์ถัง พระเจี้ยนเจินนำน้ำเต้าหู้ไปเผยแพร่ยังประเทศญี่ปุ่น ขณะที่ชาวเกาหลีเหนือเริ่มรู้จักน้ำเต้าหู้ในช่วงราชวงศ์ซ่ง และช่วงศตวรรษที่ 18 น้ำเต้าหู้ก็ถูกนำไปเผยแพร่ในประเทศในแถบทวีปอเมริกาและแอฟริกา นับแต่นั้นมาน้ำเต้าหู้ก็กลายเป็นเครื่องดื่มของจีนที่รู้จักกันทั่วโลก
ดื่มน้ำเต้าหู้เวลาไหนดี
จริงๆ แล้ว เราสามารถดื่มน้ำเต้าหู้ได้ตลอดทั้งวันครับ แต่เราอยากแนะนำให้ทุกคนดื่มในยามเช้ามากกว่า และควรงดดื่มในช่วงก่อนเข้านอน เพราะน้ำเต้าหู้มีสรรพคุณทางยาที่ช่วยขับไอร้อนและขับพิษออกจากร่างการ จะทำให้ปวดปัสสาวะบ่อย ถ้าเราดื่มก่อนนอน เราอาจจะต้องตื่นลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำกลางดึกได้
น้ำเต้าหู้ในตำราจีน
ตำราการแพทย์ของจีนในยุคโบราณบอกไว้ว่า น้ำเต้าหู้ มีฤทธิ์เป็นกลาง รสฝาด ดื่มได้ทุกฤดูกาล โดยเฉพาะฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงที่อากาศร้อนอบอ้าว การดื่มน้ำเต้าหู้จะช่วยขับไอร้อนและขับพิษออกจากร่างกาย อย่างที่บอกไว้ข้างต้น นอกจากนี้ในตำราจีนยังได้บอกอีกว่า น้ำเต้าหู้ เป็นอาหารหยิน (หลักสมดุลหยินหยาง) เหมาะสำหรับผู้หญิงมากกว่า คือดื่มแล้วผิวพรรณดี บำรุงผม เล็บ ฟัน แต่ถ้าผู้ชายกินมากๆ อาจไม่ดีกับระบบสืบพันธุ์ พูดง่ายๆ อาจมีโอกาสเสี่ยงเป็นหมัน นั่นเอง
ฝากบอกต่ออาหมวยเกี๊ยะ … คุณประโยชน์ของน้ำเต้าหู้ ในมุมการแพทย์แผนปัจจุบัน
นอกจากจะช่วยในเรื่องของผิวพรรณแล้ว การดื่มน้ำเต้าหู้เป็นประจำยังช่วยให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่างๆ ได้ด้วย (มีศัพท์การแพทย์เยอะหน่อย อาจทำให้งง แต่ฟังเอาไว้ก่อน ค่อยทำความเข้าใจทีหลังละกันครับ)
น้ำเต้าหู้นั้นมีข้อดี แต่ก็มีข้อเสีย
การดื่มน้ำเต้าหู้ที่มีไฟโตเอสโตรเจนปริมาณสูง อาจเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดมะเร็งเต้านมได้ เพราะไฟโตเอสโตรเจนก็ทำหน้าที่เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ดังนั้นคนรอบข้างของใครที่มีภาวะเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม ก็ควรระวังในจุดนี้ ดื่มได้ แต่อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมนะครับ
บอกต่ออาหมวยเกี๊ยะไปแล้ว ถึงคิวอาตี๋กันบ้าง
คุณประโยชน์อื่นๆ ที่น่าสนใจสำหรับผู้ชายๆ อย่างเรานั้นก็มีอยู่อย่างเช่น
น้ำเต้าหู้โฮมเมด ง่ายๆ ทำเองได้
ก่อนหน้านี้เราได้บอกถึงสรรพคุณและข้อดีมากมายในน้ำเต้าหู้กันมามากแล้ว สำหรับคนที่กำลังหันมาดื่มเป็นประจำ อย่าใจร้อน ไม่งั้นอาจจะตกม้าตายตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้น เพราะอะไรนั่นหรือ เพราะตามร้านขายน้ำเต้าหู้ทั่วไป มักจะใส่น้ำตาลในปริมาณที่สูงเกินควร ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพเอาเสียเลย ถ้าใครพอมีเวลา หันมาทำน้ำเต้าหู้เองกันเถอะ
การเตรียมส่วนผสมและขั้นตอนการทำก็ไม่ยุ่งยากมาก วันนี้เราขอหยิบเอาสูตรการทำ น้ำเต้าหู้สูตรเข้มข้น จาก RinS CookBook มาฝากทุกคนครับ
ส่วนผสม
7 ขั้นตอนการทำน้ำเต้าหู้
น้ำเต้าหู้ที่ทำเองได้ง่ายๆ นอกจากเราจะดื่มกันแบบสดๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปมิกซ์กับอาหารอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น ใส่ในอาหารธัญพืช ใส่ในกาแฟ หรือจะเปลี่ยนจากบัวลอยน้ำขิง เป็นบัวลอยน้ำเต้าหู้ ก็อร่อยดี … ได้หมด ถ้าสดชื่น
Photo : pixabay, wikimedia