GENERATION X (ปี 1961-1981)
กลุ่มเจเนอเรชั่นที่เติบโตมาแบบทรงอิทธิพลในยุค 90s คนกลุ่มนี้มีกำลังและความมั่นคงทางการเงินมากกว่ากลุ่มเบบี้บูมเมอร์และกลุ่มมิลเลเนียล แต่มันเป็นกลุ่มคนที่ถูกมองข้ามไป พิว รีเสิร์ช เซ็นเตอร์ ระบุว่า 47% ของเจเนอเรชั่นนี้จะสนับสนุนด้านการเงินแก่พ่อแม่หรือดูแลคนที่อายุน้อยกว่า ด้วยเหตุนี้ GENERATION X (ปี 1961-1981) จึงทำงานหนักที่สุด และปรารถนาการพักผ่อนท่องเที่ยว ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวที่กำลังเติบโตขึ้นมา ควรจะหันมาเจาะกลุ่มคนประเภทนี้ พร้อมกับก้าวไปตามเทรนด์ประจำปี นั่นคือ ส่งเสริมให้การท่องเที่ยวไปพร้อมๆ กับการใส่ใจเรื่องสุขภาพ โรงแรมไม่สามารถมองฟิตเนสเป็นแค่บริการเสริมอีกต่อไป แต่ต้องผสานเข้าไว้กับธุรกิจเพื่อมอบบริการหรูเพื่อสร้างความประทับใจแก่ลูกค้าที่ใส่ใจเรื่องของสุขภาพ
MILLENNIALS (ปี 1982-2004)
กลุ่มมิลเลเนียล ถือเป็นกลุ่มใหญ่ของเจเนอเรชั่นทั้งหมด คนกลุ่มนี้กำลังจะกลายเป็นคนส่วนใหญ่ในที่ทำงาน ซึ่งคนกลุ่มนี้ให้คุณค่ากับการพัฒนาตนเอง การจัดสมดุลการงาน-ชีวิตมากกว่าเงินตราและสถานภาพทางสังคม จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจหากคนกลุ่มนี้จะเลือกทำงานแบบฟรีแลนด์ที่สามารถปรับเปลี่ยนตารางการทำงานได้อย่างเสรี กลุ่มคนที่อยู่ในระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างอนาล็อกสู่ดิจิทัล ประเด็นเหล่านี้จึงมักถูกนำมาใช้หลักสำหรับแบรนด์สินค้า ด้วยการนำคุณลักษณะจากอดีตมาสร้างสรรค์หรือเปลี่ยนวิธีการใช้ใหม่จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์แบบเรโทร (Retro) เก่าคือความสดใหม่สำหรับคนกลุ่มนี้ ด้วยเป็นกลุ่มที่มองหาประสบการณ์ การใช้เวลาที่มีคุณภาพมากกว่าคลั่งไคล้ในวัตถุนิยม
GENERATION Z (ปี 2005-2009)
แม้กลุ่มมิลเลนเนียลจะเยอะกว่าเจนซี แต่คุณก็ไม่อาจมองข้ามคนกลุ่มนี้ไปได้ เพราะเจนซีเกิดมาในขณะที่เทคโนโลยี Wi-Fi และสมาร์ทโฟนพร้อมสรรพ บางครั้งถูกเรียกว่าDigital Native กลุ่มเจนซี จึงมีความเป็นปัจเจก เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าเฉพาะเจาะจงที่แสดงความเป็นตัวของตัวเอง ข้อมูลจากบิสสิเนสทูคอมมิวนิตี้ ระบุว่า 53% ของเจนซียังต้องการช่องทางการสื่อสารที่เป็นส่วนตัวหรือเป็นแบบตัวต่อตัวมากกว่าช่องทางที่สาธารณะ ไอเจน (iGen) อีกชื่อเรียกหนึ่งของเจนซีเป็นกลุ่มที่หวงแหนความเป็นส่วนตัวมากกว่ามีรายงานจากสถาบันเจเนอเรชั่น คิเนติกส์เซ็นเตอร์ ระบุว่า เด็กเจเนอเรชั่นนี้มักเลือกใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีความเป็นส่วนอย่าง Snapchat มากกว่าเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์นอกจากนี้ 38% ยังกังวลเกี่ยวกับข้อมูลหรือข้อความที่ส่งผ่านออนไลน์ว่าจะสร้างผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในโรงเรียน เจนนี้ถือเป็นเจเนอเรชั่นแรกที่เติบโตในช่วงที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา มีความละเอียดลออ รวมถึงเข้าใจเทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาทกับการดำเนินชีวิตความสามารถในการเข้าถึงข่าวสาร และรายล้อมด้วยสื่อดิจิทัลรอบด้าน จึงเป็นเจเนอเรชั่นที่เปิดกว้าง เชื่อมั่นในความเท่าเทียมทางเพศรวมถึงเข้าใจความหลากหลายของผู้คน พวกเขา ต้องการสร้างความแตกต่าง เริ่มออกแบบสินค้าจากทัศนคติของผู้ใช้งานมากกว่าเรื่องเพศสภาพ
ALPHA GENERATION (ปี 2010-2025)
เจนเนอเรชั่นอัลฟ่า (Alpha Generation) เจนแรกแห่งศตวรรษที่ 21 หรือเด็กที่เกิดระหว่างปี 2010-2024 ในปี 2025 โลกจะมีจำนวนประชากรของเจนนี้มากถึง 2 พันล้านคน เด็กน้อยที่กำลังเติบโต จะกลายเป็นผู้กุมอำนาจการเปลี่ยนโลกในศตวรรษที่กำลังมาถึง เข็มทิศจะหมุนตามความต้องการของวัยกำลังคลานในวันนี้ ที่จะเติบโตพร้อมด้วยกำลังซื้อในวันข้างหน้า เจนอัลฟ่าคุ้นเคยกับเทคโนโลยีตั้งแต่ฟันนํ้านมซี่แรกยังไม่ขึ้น จำนวน 3 ใน 4 จะมีสมาร์ทโฟนเป็นของตัวเอง เมื่อเป็นวัยรุ่น พวกเขาจะสามารถเดินทางท่องโลกออกสำรวจเสน่ห์ผ่านตรอกซอยในอินเดีย ด้วย Virtual Reality (VR) ทั้งยังเข้าห้องเรียนในมหาวิทยาลัยชื่อดังระดับไอวี่ลีกด้วยเทคโนโลยี Augment Reality (AR) ปรึกษาปัญหาสุขภาพของพ่อแม่กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้วยการ Livestream อยู่ที่บ้าน เจนเนอเรชั่นที่สามารถเป็นดีไซเนอร์ได้ในวัยเพียง 4 ขวบ ที่แฟชั่นวีคระดับโลกต้องจับจองที่นั่งแถวหน้าสุดไว้ให้ เพราะการมองเห็นของพวกเขาคือ มูลค่ามหาศาลของว่าที่ลูกค้าในอนาคต รวมถึงก้าวขึ้นเป็นเน็ตไอดอลในวัยกำลังเดินด้วยจำนวนผู้ติดตามในโซเชียลมีเดียนับแสนนี่คือเจนที่ได้รับคำนิยามว่า “The Next Next Generation” ความแตกต่างของเจนไม่ได้น่ากลัวเท่า ความคิดของคนยุคสมัยนี้กำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางเนกกาทีฟมากขึ้น โลกล้ำสมัยขึ้นก็จริง แต่ผู้คนกลับพึ่งพาอาศัยกันน้อยลง เพราะเทคโนโลยีสามารถทดแทนความต้องการได้ทุกสิ่งและสิ่งที่เคยถูกต้องในสมัยอดีตจะถูกล้ำเส้นด้วยความคิดที่แตกต่างกว่าของคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดเป็นของตัวเอง