ร่วมชมนิทรรศการ “PLUS FOUR” DUKE Contemporary Art Space

ร่วมชมนิทรรศการ “PLUS FOUR” DUKE Contemporary Art Space

“ศิลปะ” ไม่ว่าจะในยุคสมัยใด ก็ต้องเผชิญหน้ากับคาถามที่มีต่อผลงาน รูปแบบและแนวความคิด ในการสร้างสรรค์ผลงานเรื่อยมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 18 ก้าวเข้าสู่ศตวรรษ ที่ 19 เมื่องานศิลปะไม่ได้เป็นเพียงภาพวาดเล่าเรื่องราวตามขนบธรรมเนียม หรือผลงานที่สร้างขึ้นเพื่อศาสนาแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น พัฒนาการอย่างก้าวกระโดดทางนวัตกรรมในแต่ละด้าน อาทิ กระบวนการผลิต และเผยแพร่ วิวัฒนาการทางการเดินทาง ส่งผลให้ผู้คนในสังคมมีความพยายามที่จะแสดงออกถึงความเป็นปัจเจกบุคคลมากยิ่งขึ้น

ความเปลี่ยนทางสังคมและพัฒนาการทางเทคโนโลยีเหล่านี้เอง เป็นหนึ่งในปัจจัยสาคัญที่กระตุ้นให้ศิลปิน หรือบางครั้งยังรวมไปถึงบุคคลทั่วไป ได้พัฒนาและต่อยอดแนวทางในการนาเสนอผลงานศิลปะมากยิ่งขึ้น ทาให้เกิดแนวทางศิลปะหลากหลายกระแสเรื่อยมาตั้งแต่นั้นจนถึงในปัจจุบัน เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวและแนวความคิดของปัจเจกบุคคลให้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น งานจิตรกรรมจึงเป็นงานรูปแบบหนึ่งที่ถูกท้าทายด้วยแนวความคิดจากกระแสศิลปะต่างๆ เรื่อยมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ในสภาวะการณ์สมัยใหม่ ที่ “อะไรๆ ก็เป็นศิลปะ” ในแง่มุมของการถ่ายทอดแนวความคิดในการสื่อสารผ่านชิ้นงาน มากกว่าให้ชิ้นงานเป็นตัวแทนของภาพเล่าเรื่อง หรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ ไปจนถึงการตั้งคาถามคลาสสิคอย่างความหมายและคุณค่าของตัวงาน ทาให้งานจิตรกรรมเองมีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ ในการนาเสนอของตัวเองไม่แพ้ในงานรูปแบบอื่นๆ เช่นกัน ซึ่งแม้ว่าจะมีเพียงระนาบสองมิติเป็นพื้นที่ในการนาเสนอ แต่ก็สามารถพัฒนาและเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปได้อย่างหลากหลาย เพื่อเสนอแนวความคิด ของศิลปินผู้สร้างผลงานได้ไม่แพ้กันกับงานในรูปแบบอื่นๆ

นิทรรศการศิลปะ “Plus Four” ได้เลือกนำงานจิตรกรรมมาใช้เป็นเครื่องมือหลัก ในการตรวจสอบสถานะของงานจิตรกรรมเองถึงความสามารถในการสื่อสารด้วยตัวผลงาน ระหว่างจิตรกรและผู้ชม ผู้ชมและผลงาน ผลงานและจิตรกร โดยรวบรวมชิ้นงานจิตรกรรมจากศิลปิน 4 ท่าน ได้แก่ ประภัสสร บุตรพรหม สมพงษ์ ผลรัศมี มนัส เหลาอ่อน และอัชลินี เกษรศุกร์ ซึ่งมีพื้นเพที่แตกต่างกัน ตั้งแต่อายุ เพศ ถิ่นกาเนิด พื้นฐานการเรียนรู้ทางศิลปะและประสบการณ์ส่วนบุคคลอันส่งผลต่อเรื่องราวที่สื่อสารภายในผลงาน

โดยมีงานจิตรกรรมเหล่านี้เป็นพื้นที่ส่วนกลางในการบอกเล่าทัศนคติ เรื่องราวส่วนบุคคล หรือแม้กระทั้งการใช้ชิ้นงานเป็นเครื่องมือในการทดสอบกระบวนการรับรู้ระหว่างตัวผู้ส่งสาร และผู้รับสาร เพื่อสอบทานถึงประสบการณ์ที่มีร่วมหรือแตกต่างกัน ผ่านทางอารมณ์และความคิดของผู้ชมภายหลังจากได้รับชมผลงาน

 

ประภัสสร บุตรพรหม

Concept: มนุษย์ขาดความรักไม่ได้ ทุกคนล้วนเคยมีความรัก ไม่ว่าจะเป็นความรักในประเภทไหน อาจจะเป็นความรักเเบบหนุ่มสาว รักที่มาจากครอบครัว รักที่มาจากเพื่อนหรือคนรอบข้าง ล้วนเเต่สร้างทั้งความสุขเเละความเจ็บปวด ความสุขที่มีอีกคนอยู่ข้างๆ มีกำลังใจ มีเป้าหมาย ความเจ็บปวดที่เกิดจากการสูญเสีย ผิดหวัง ซึ่งผลงานชุดนี้ใช้เเรงบัลดาลใจจากประสบการณ์ด้านความรักของดิฉันเองในช่วงเวลาที่รู้สึกรัก มีความสุข เเละในช่วงเวลาที่ผิดหวังเสียใจจากความรัก


สมพงษ์ ผลรัศมี

Concept: ข้าพเจ้าขอน้อมจิตรำลึกถึงต้นตระกูลชาวนาของข้าพเจ้า ในเม็ดข้าวทุกเม็ด ยกทูลไว้เหนือหัว พนมก้มกราบ คุณปู่เพ็ง ผลรัศมี คุณย่ามา ผลรัศมี เป็นคำรบแรก ก้มกราบคุณตาสมบูรณ์ ทรัพย์พงษ์ คุณยายเฟื่อง ทรัพย์พงษ์ ในคำรบสอง และคำรบสามแด่ นายบุญล้ำ ผลรัศมี ผู้เป็นบิดา นางทองเรียม ผลรัศมี ผู้เป็นมารดา

นับแต่รากเหง้าบรรพบุรุษวงศาคณาญาติพี่น้องร่วมสายเลือดเดียวกันของบิดามารดาข้าพเจ้า ทุกผู้ทุกคนล้วนแต่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รวมถึงผู้คนร่วมหมู่บ้านเดียวกันอีก 102 หลังคาเรือน ผู้คนเหล่านี้ เกิด แก่ และตายบนผืนแผ่นดินเดียวกันที่บรรพบุรุษสร้างไว้ ก้มหน้าปักกล้าด้วยหัวใจที่ซื่อสัตย์และซื่อตรงต่ออาชีพของตนตลอดมาจนวันอวสานแห่งชีวิต

ด้วยเหตุนี้ ตัวข้าพเจ้าเป็นลูกชาวนาโดยแท้ขอใช้หัวใจอันซื่อๆ ปักดำเมล็ดพันธุ์ของศิลปะอันซื่อๆ ด้วยดวงใจอันซื่อๆของข้าพเจ้า ที่กล่าวมาทั้งนั้นคือแรงบันดาลใจที่ทำให้ข้าพเจ้าได้ทุ่มเทแรงกายและจิตใจ บรรจงสร้างสรรค์ผลงานเพื่อระลึกถึงผู้คนเหล่านี้ ว่าคือผู้มีพระคุณอันใหญ่หลวงของข้าพเจ้าข้าพเจ้าจึงขอแสดงความผ่านใบหน้าของคนเหล่านี้


มนัส เหลาอ่อน

Concept: รูปทรงของวัตถุที่อยู่รอบตัวกับสภาพแวดล้อมในชีวิตที่ผมมีความสนใจเป็นพิเศษถูกเลือกมาใช้เป็นฐานเบื้องต้น ประกอบกับความคิดทัศนคติส่วนตัวและประสบการณ์ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบจิตรกรรมจัดองค์ประกอบภาพให้เรียบง่าย ปรับรูปทรงใหม่ เพื่อส่งผลต่อการเห็นสร้างความรู้สึกใหม่ขึ้นมา“ภาพ” ที่เกิดขึ้นบนระนาบสองมิติด้วยวิธีการทางจิตรกรรมใช้การลวงตาด้วยน้ำหนัก แสงเงา สี หรือพื้นผิว ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานหลักของการสร้างงานจิตรกรรม ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน

“ภาพ” ยังเป็นภาษาหนึ่งที่สามารถบ่งบอก หรือสร้างความรู้สึกบางอย่างให้กับคนดูได้เสมอ ซึ่งหลายๆครั้งที่ผมมองผลงานจิตรกรรมที่ผมสร้างขึ้นมา มันคล้ายกับว่าผมกำลังคุยกับความคิดภายใน ที่ไม่สามรถอธิบายได้เพียงภาษาพูด หรือภาษาเขียน

ลักษณะดังกล่าวมีความเป็นนามธรรม เกิดจาก จิต กระทำต่อรูปทรงที่เราเห็น สิ่งนี้ได้กระตุ้นความนึกคิดของเราที่มีอยู่แล้ว โดยที่ตัวมันเองไม่ได้บอกกล่าวความหมาย หรือเรื่องราวใดๆเลยก็ได้ความรู้สึกภายในที่เกิดจากการเห็นภาพจิตรกรรมที่อยู่เบื้องหน้าจึงเป็นช่องทางหนึ่งของการสื่อสาร แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่มีของมนุษย์ร่วมกันอีกวิธีหนึ่ง


อัชลินี เกษรศุกร์

Concept: บอกเล่าเรื่องราวของ “ความเจ็บปวด” และ “ความสุข” ซึ่งเป็น เงาสะท้อนของกันและกัน ในความสุขมักจะแทรกด้วยความเจ็บปวด และบ่อยครั้งที่ในความเจ็บปวดก็ระคนด้วยความสุขบางๆ ไม่ว่าความเจ็บปวดนั้นจะเกิดจาก โรคภัย หรือ โรคใจ เราก็ต้องใช้ชีวิตให้ดีที่สุดด้วย การมองหาสิ่งงดงามรอบตัวมาเติมเต็ม เมื่อเราอยู่กับความเจ็บปวดด้วยรอยยิ้ม มันไม่เพียงมอบกาลังใจให้ตัวเอง หากแต่ยังไปจุดความสุขแก่คนรอบข้าง และประการหลังนี้เองที่ทาให้อยากแบ่งปันผ่านภาพวาดนามธรรมที่ทั้งสดใสและมืดมัว คละเคล้าทั้งความโสมนัสและโทมนัส


ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก: Plus Four

© COPYRIGHT 2024 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.