ชา กับ รัม 2 ความต่างทางวัฒนธรรมที่ลงตัว

ชา กับ รัม 2 ความต่างทางวัฒนธรรมที่ลงตัว

เมื่อพูดถึงญี่ปุ่น อาหารถือเป็นสิ่งที่ขึ้นชื่อและกลายเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่ทำให้เราจดจำประเทศนี้ได้ อย่างเช่น  ซูชิ ราเมง หอยเม่น และแน่นอนว่า “ชาเขียว” ก็ถือเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นมายาวนาน ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เหมาะกับการปลูกใบชาพันธุ์ต่างๆ ให้รสชาติยอดเยี่ยม และวิถีการชงชาในแบบของชาวญี่ปุ่นที่มีวัฒนธรรมการสืบทอดมาหลายยุคหลายสมัย จึงไม่แปลกหากพูดถึงประเทศนี้แล้ว จะทำให้ใครหลายๆ คนนึกถึง “ชา” อยู่เสมอ

และถ้าเราจะหาที่ดื่มชาเขียวรสชาติเยี่ยมในกรุงเทพฯสักแก้ว คงไม่ใช่เรื่องที่น่าตื่นเต้นสักเท่าไร เพราะคงมีอยู่มากมายหลายแห่งเต็มไปหมด แต่สิ่งที่ทำให้เราสะดุดหูและต้องพาตัวเองมาลิ้มลองประสบการณ์ใหม่ครั้งแรก คือการ ได้ยินว่า ชาเขียวนั้นจะถูก นำมาผสมผสานกับ รัม เพื่อรังสรรค์รสชาติใหม่ที่ แตกต่างไปจากเดิม แต่กลายเป็นความลงตัวที่น่าอัศจรรย์

เราเดินทางมาถึง Backstage บาร์ที่มีชื่อเสียงย่านทองหล่อ เราได้พบกับ YUKINO SATO ซึ่งเป็น guest shift ผู้โด่งดังจากบาร์ MIXOLOGY SALON ถือเป็น หนึ่งใน 50 บาร์ที่ดีที่สุดของเอเชีย และเป็นสถานที่ที่ได้รับความนิยมสูงจากนักดื่มทั่วโลก เพราะได้ขึ้นชื่อว่ามีการทดลองค็อกเทลรสชาติใหม่ๆ ที่น่าสนใจ พร้อมเทคนิคการชงเองที่ไม่เหมือนใครเช่นกัน

YUKINO SATO น่าจะเป็นมิกโซโลจิสต์ไม่กี่คนที่ใช้เทคนิคการผสมผสานวิธีการชงแบบคลาสสิกของญี่ปุ่นสไตล์ดั้งเดิมเข้ากับอุปกรณ์ที่ล้ำสมัย เลือกและจัดสรรการใช้ให้เหมาะกับการชงค็อกเทลแต่ละประเภท เพราะเธอยังคงเชื่อว่า วิธีการชงแบบดั้งเดิมจะทำให้เราได้ดื่มด่ำกับรสชาติค็อกเทลได้ดีที่สุด

ครั้งนี้ YUKINO SATO ได้ใช้ PHRAYA RUM เป็นหนึ่งในวัตถุดิบหลัก ซึ่ง PHRAYA สีทองอำพัน มาจากการผลิตที่ใส่ใจในทุกกระบวนการ จนขึ้นชื่อได้ว่าเป็น Craft of Refinement ได้รับแรงบันดาลใจจากธาตุทั้ง 4 ในการผลิตได้แก่ ธาตุดิน, ธาตุน้ำ, ธาตุไฟ, ธาตุลม เมื่อได้ลองสัมผัสแบบออน เดอะ ร็อค รสชาติแรกที่ดื่มเข้าไปมีความเผ็ดร้อนแสดงออกถึงความเป็นไทยก่อนที่จะชูความหวานคาราเมลในตอนปลายหลังจากรัมไหลผ่านลงคอ ที่สำคัญกลิ่นและรสชาติแม้จิบเพียงเล็กน้อยแต่ก็ยังคงเย้ายวนทรงเสน่ห์ให้ได้กลิ่นอยู่รอบๆ ตัว

เมื่อความเป็นรัมไทย ผสมผสานกับชาเขียว เกิดเป็นเมนูแรกที่ชื่อว่า “Green Tea Fashioned

มีส่วนผสมของ PHRAYA RUM มัชชะชาเขียว กลิ่นวนิลา และคุโระมิทสึ หรือน้ำผึ้งดำ เป็นสิ่งให้ความหวานที่ทำมาจากน้ำตาลอ้อย ซึ่งสัมผัสแรกของการดม กลิ่นของใบชาลอยขึ้นมาเตะจมูก ผสานกับกลิ่นรัมอ่อนๆ ที่ทำให้เรารู้สึกตัวว่านี่คือค็อกเทลรสชาติที่น่าสนใจยิ่ง การ บาลานซ์ของทั้งสองเมื่อกลืนลงคอคือ ชาช่วยสร้างความสมดุลให้กับรสชาติที่เผ็ดร้อนของรัม ในระดับดีกรีที่ทุกคนสามารถดื่ม ได้ง่ายขึ้น แต่ชาก็ทำหน้าที่ของตัวเองได้ดี ไม่กลืนหายไปกับรัม แม้จะให้รสชาติที่เบาบางกว่าก็ตาม

YUKINO SATO บอกว่า นี่เป็นครั้งแรกเลยที่เธอได้ลองใช้ PHRAYA RUM เป็นส่วนผสมหลักของค็อกเทล “มันเหมาะมากที่จะใช้ดื่มในสถานการณ์ที่หลากหลาย ทั้งดื่มแบบออน เดอะ ร็อค และผสมในเมนูค็อกเทล ด้วยรสชาติอันมีเอกลักษณ์แบบธรรมชาติของ PHRAYA”

ส่วนเมนูที่สองชื่อว่า “Baked Mango Colada”

เมนูนี้ถือว่าเหมาะกับสาวๆ ที่ชอบดื่ม เพราะความละมุนของเนื้อมะม่วงที่ผสมกับรัม ถูกชูรสด้วยดับเบิ้ลครีม ไซรัปวนิลาและแน่นอนขาดไม่ได้กับ โฮจิชา (Hojicha) ชาเขียวญี่ปุ่นจากเมืองชิซุโอกะที่ผ่านการคั่ว ให้สัมผัสได้ถึงรสชาติที่แตกต่างจากชาเขียวทั่วๆไป ปิดท้ายด้วยการโรยด้วยมะพร้าวคั่ว ซึ่งทำให้เครื่องดื่มนี้ลงตัวมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าสัมผัสแรกไม่ต่างจากที่ตาเห็น คือความละมุนของเนื้อครีมและมะม่วงราวกับกำลังดื่มสมูตตี้รสชาติใหม่ ที่ทำให้หลงใหลได้ในเพียงไม่กี่แก้ว ความกังวลเรื่องที่จะทำให้กลบรสชาติของรัม นั้นอาจไม่ใช่สิ่งที่ต้องเป็นห่วง เพราะรัมยังคงแทรกวัตถุดิบอื่นๆ ทั้งกลิ่นหอมของมะพร้าวคั่ว ที่ชูกลิ่นหอมอ่อนๆ ของโคโคนัท เอกลักษณ์ของกลิ่นที่มีอยู่ใน PHRAYA Rum  พุ่งรสชาติความเป็นตัวตนของตัวเองออกมาได้ นั่นทำให้แก้วนี้ดื่มง่ายและรสชาติละมุนกลมกล่อม

เมนูสุดท้าย ชื่อว่า “Soba & Pineapple Cocktail

โดยส่วนตัวชอบเมนูนี้ที่สุด เพราะการใช้ส่วนผสมหลักและส่วนผสมรอง ถือว่าไม่แย่งซีนกันและกัน รสชาติความเผ็ดร้อนของ PHRAYA Rum ยังคงอยู่ ในขณะที่ความเปรี้ยวของสับปะรดก็โดดเด่นขึ้นมาจนติดลิ้นให้เรารับรู้ทั้งสองแบบ 50/50 ในขณะที่อีกส่วนผสมที่ขาดไม่ได้คือ ใบชาโซบะ ถ้าพูดแบบนี้อาจยังไม่เข้าใจ แต่ถ้าเราบอกว่ามันก็คือพืชชนิดเดียวกับที่ใช้ทำเส้นโซบะของญี่ปุ่นนี่แหละ อาจทำให้คุณเห็นภาพมากขึ้น ชาโซบะ ไม่ได้ทำหน้าที่แค่ใส่ให้รู้ว่ามีชาเป็นส่วนผสม แต่คุณสมบัติของมันคือการบาลานซ์รสชาติ ไม่ทำให้วัตุดิบอันใดอันหนึ่งเด่นมากเกินไปจนกลบเพื่อน

YUKINO SATO ไม่เพียงแต่มาโชว์เมนูค็อกเทลใหม่จากการทดลองของเธอ แต่ยังพาเราไปชมขั้นตอนการทำกันต่อที่งาน “Bangkok Bar Show 2019” ครั้งแรกของเมืองไทย จัดขึ้นที่ล้ง 1919 รวมสาระเครื่องดื่ม เมนูบาร์ และ guest shift เก๋ๆในกรุงเทพ ที่เอาแบรนด์เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ และไร้แอลกอฮอลล์กว่า 100 แบรนด์จากทั่วโลก มานำเสนอเครื่องดื่มซิกเนเจอร์สูตรพิเศษมาให้ได้ลองชิม พร้อมด้วยกิจกรรมมากมายให้ผู้ที่หลงใหลในศาสตร์แห่งการดื่มได้เรียนรู้เทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญในการคิดค้นและรังสรรเครื่องดื่ม พร้อมกับพบกับมิกโซโลจิสต์ชื่อดังจากทั่วโลกที่จะมาเป็นแขกรับเชิญพิเศษในบาร์ค็อกเทลชั้นนำทั่วกรุงเทพฯ

YUKINO SATO guest shift คนสำคัญของ PHRAYA ได้เผยเทคนิคขั้นสูง ในการชงเครื่องดื่มรูปแบบคลาสสิกที่ไม่เหมือนใคร เธอได้รับการฝึกและเรียนรู้มาจากอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งในวิธีการชงแบบนี้ที่ประเทศญี่ปุ่น การฝึกฝนอยู่ 7 ปี แทบจะทำให้เธอกลายเป็นมือขวาคนโปรดเลยก็ว่าได้ YUKINO SATO ไม่เพียงเชคหรือคนให้วัตถุดิบแต่ละชนิด ผสมกัน แต่เธอใช้วิธีการคนเครื่องดื่มแบบช้าๆ สโลว์จนเราแทบจะหยุดหายใจตาม ด้วยเหตุผลว่า ทุกครั้งที่เธอชงเครื่องดื่ม เธอจะดูลักษณะภูมิอากาศของประเทศนั้นๆ น้ำแข็งที่ใช้ และสภาพโดยรวมของบรรยากาศรอบๆ ขณะนั้นเป็นอย่างไร

แม้เรื่องเหล่านี้จะดูเหลือเชื่อเกินความจริงไปหน่อย แต่เธอได้ทดลองให้เห็นแล้วว่า สิ่งที่เธอทำ ช่วยเพิ่มและเก็บรักษาความเป็นออริจินัลรสชาติของรัมได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งเธอบอกว่า “น้ำแข็งที่ไทย ค่อนข้างอ่อนนุ่ม ทำให้ละลายได้เร็วผนวกกับอากาศร้อนอบอ้าวมีความชื้นสลับฝน เมื่อใช้วิธีการชงเร็ว จะทำให้น้ำแข็งละลายเยอะเกินไปจนเสียอรรถรสก่อนจะส่งถึงมือผู้ดื่ม

ต้องขอชื่นชมว่าแม้จะเป็นครั้งแรกที่ YUKINO SATO มาเมืองไทย แต่เธอก็สามารถเรียนรู้วัฒนธรรม สภาพภูมิอากาศ ผู้คน อาหารการกินได้เร็ว จนทำให้เธอสามารถรังสรรเมนูสุดพิเศษ ที่ถูกใจคนไทยและชาวต่างชาติได้ดีเยี่ยม

นอกจาก YUKINO SATO จะมาเป็น guest shift ให้กับ PHRAYA แล้ว ยังมีมิกโซโลจิสต์อีกหลายประเทศที่จะร่วมเดินทางมาโชว์ฝีมือให้เราได้เห็นกันอีกในงาน THAILAND Rum Cocktail Week 2019 ในสัปดาห์นี้  รอติดตามกันดูครับสำหรับคนชอบดื่มรัมจาก PHRAYA จะทำให้คุณสามารถสร้างอรรถรสความสุขจากการดื่มได้มากกว่าที่เคย

 

© COPYRIGHT 2025 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.