ชีวิตเราต้องมีปาร์ตี้กันบ้าง ทั้งกับเพื่อนร่วมงานและเพื่อนฝูงในกลุ่ม ถือเป็นอีกหนึ่งไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน โดยบางครั้งถ้าปฏิเสธไม่ได้ที่จะไป เราก็ควรมีทริค แก้แฮงค์ เก็บไว้ให้กับตัวเอง จะได้ไม่เมาปริ้นจนลงไปกองดิ้นหมดสภาพความคูลครับ
ไม่จริง กาแฟแค่ช่วยลดอาการง่วงซึมของผู้ดื่ม แต่ไม่ได้ช่วยเร่งการขับแอลกอฮอล์ออกจากร่างกายหรือลดความมึนเมาเลย จริงๆ แล้วกาแฟดำออกฤทธิ์ขับปัสสาวะเช่นเดียวกับแอลกอฮอล์ ซึ่งจะยิ่งทำให้ร่างกายของคุณขาดน้ำขึ้นไปอีก วิธีแก้อาการเมาที่ถูกต้องคือ ควรนอนพัก และดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ จะดีกว่า
จริง เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ จึงทำให้ร่างกายขาดน้ำ ซึ่งก็คืออาการเมาค้างนั่นเอง ดังนั้นควรดื่มน้ำเยอะๆ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการดื่มเแอลกอฮอล์ เพราะจะช่วยให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ
เป็นไปได้ เพราะเมื่อใช้หลอดดูด ผู้ดื่มจะรู้สึกว่าดื่มง่ายขึ้น แถมกลบรสขมของแอลกอฮอล์ จึงทำให้รู้สึกเพลิน เหมือนดูดน้ำ เป็นสาเหตุให้บริโภคปริมาณแอลกอฮอล์มากขึ้นโดยไม่รู้ตัว
ไม่จริง การ “ถอน” จะช่วยให้ดีขึ้นชั่วคราวเท่านั้นเอง เพราะร่างกายจะหยุดกลไกขับแอลกอฮอล์ออกจากร่างกายเพื่อเตรียมรับแอลกอฮอล์ใหม่เข้าไป การทำเช่นนี้ แค่ช่วย “ชะลอ” อาการเมาค้างเท่านั้น เพราะถึงอย่างไรแล้ว แอลกอฮอล์ที่คุณดื่มเข้าไปจะต้องผ่านกระบวนการเพื่อขับออกจากร่างกายอยู่ดี
ไม่จริง ผลกระทบของการดื่มไม่ได้ขึ้นอยู่กับประเภทของเครื่องดื่ม แต่ขึ้นอยู่กับปริมาณแอลกอฮอล์ รูปแบบการดื่ม และปัจจัยอื่นๆ เช่น ปริมาณและความเร็วในการดื่ม ภาวะร่างกายของแต่ละคนที่ตอบสนองต่อแอลกอฮอล์ไม่เท่ากัน อายุและเพศ ซึ่งคนหนุ่มสาวและผู้หญิงมีโอกาสเมาเร็วกว่า
นอกจากนี้เมื่อจะต้องรินแอลกอฮอล์ลงในแก้ว ควรคำนึงถึงปริมาณ “ดื่มมาตรฐาน” (Standard Drink) โดย 1 ดื่มมาตรฐาน เท่ากับ แอลกอฮอล์บริสุทธิ์ประมาณ 10 กรัม ใช้เวลา 1 ชั่วโมงในการขับออก ซึ่งดื่มมาตรฐานของแอลกอฮอล์แต่ละประเภทต่างกัน ขึ้นอยู่กับดีกรีของแอลกอฮอล์ประเภทนั้นๆ เช่น 1 ดื่มมาตรฐาน เทียบเท่ากับการดื่มวิสกี้หรือวอดก้า 3 ฝา (รวม 30 มิลลิลิตร), ไวน์ 1 แก้ว (100 มิลลิลิตร) หรือเบียร์ 1 กระป๋องหรือขวดเล็ก (330 มิลลิลิตร) เป็นต้น ดังนั้น แม้เครื่องดื่มจะถูกเสิร์ฟมาในแก้วหลากหลายรูปแบบ มีลักษณะภายนอก กลิ่น หรือรสชาติที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่พึงระวังคือเครื่องดื่มเหล่านี้ล้วน “ดื่มมาตรฐาน” ไม่เท่ากัน เนื่องมาจากปริมาณแอลกอฮอล์ นั่นเอง
หากเลือกที่จะดื่มหรือแม้ไม่ดื่มก็ตาม ควรรู้ถึงผลกระทบของแอลกอฮอล์เพื่อการตัดสินใจอย่างมีข้อมูล ดื่มอย่างมีสติ และแนะนำคนใกล้ชิดให้ดื่มได้อย่างเหมาะสมด้วยนะครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก
ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่