Kong Skull Island

MOVIE SHADES : Kong Skull Island เกาะนี้ของคองครอง

Kong Skull Island
Kong Skull Island

WHY : Kong Skull Island ภาพยนตร์สัตว์ประหลาดที่ทำให้ King Kong ได้กลับมาผงาดบนจอภาพยนตร์อีกครั้งในปีนี้ การกลับมาครั้งนี้เป็นการตอกย้ำมนุษย์ว่า ทำไมเราจึงไม่ได้ยิ่งใหญ่อะไรบนโลกใบนี้

 

King Kong เป็นตัวละครลิงยักษ์ ที่ออกแบบโดยอดีตนักบินของกองทัพอเมริกาที่ชื่อว่า Marian C. Cooper (1893 – 1973) ผู้เคยได้รับรางวัลออสการ์ทางด้านการสร้างผลงานดีเด่นแก่วงการภาพยนตร์ในปี 1952 และได้รับเกียรติในการประทับรอยฝ่ามือลงบน Hollywood Walk of Fame ในปี 1960 เขาเริ่มต้นอาชีพของเขา ด้วยการเป็นนักถ่ายทำสารคดีของสมาคมนักสำรวจ (The Explorer Club) ก่อนที่จะมาทำให้กับบริษัทภาพยนตร์ต่างๆ รวมไปถึงที่ Matro-Gpldwyn-Mayer หรือ MGM ด้วย

Kong Skull Island

ในตอนเด็ก Marian C. Cooper มีความหลงไหลใน “ลิงกอริลล่า” มากๆ ด้วยขนาดร่างกายของมันที่ดูยิ่งใหญ่ และแข็งแกร่ง ไร้เทียมทาน สมเป็น “ราชันย์แห่งป่าแอฟริกา” เมื่อโตขึ้น เขามีโอกาสได้ทำภาพยนตร์ เขาจึงอยากถ่ายทำสารคดีเกี่ยวกับความดุร้ายของลิงกอริลล่า และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของการจุดประกายไอเดียการทำฉากในภาพยนตร์ของเขา ที่อยากให้มี ลิงกอริลล่าร่างยักษ์ ปีนตึก New York Insurance Building (ปัจจุบันชื่อว่า New York Life Building) แล้วต่อสู้กับเครื่องบิน ที่โฉบไปมา ซึ่งเขาได้มีภาพของฉากจบของภาพยนตร์เรื่องนี้อยู่ในหัว ก่อนจะมีโครงเรื่องของภาพยนตร์เรื่องนี้เสียด้วยซ้ำ

Kong Skull Island

ชื่อของ King Kong นั้น เริ่มต้นมาจากเสียงของอักษรตัว “K” ที่เขาชอบ เนื่องจากว่าเป็นเสียงที่ฟังดูแล้วแข็งแรงมีพลัง บวกกับความสนใจของเขาที่มีต่อมังกร Komodo ด้วยเช่นกัน บวกกับหนังสือเล่มโปรดของเขาที่ชื่อว่า King of Komodo ผสมกับชื่อของประเทศ Congo ก็เลยกลายเป็นชื่อ King Kong ตั้งแต่ตอนนั้น โดยภาพยนตร์เรื่อง King Kong ได้ออกฉายครั้งแรกในปี 1933 แล้วได้ถูกนำมาทำใหม่อีกครั้งในปี 1976 ที่กำกับโดย John Guillermin และในปี 2005 ที่กำกับโดย Peter Jackson ซึ่งเนื้อเรื่องพื้นฐานของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็คือ การรับมือกับลิงยักษ์ บนเกาะ Skull Island

Kong Skull Island

Skull Island หรือ เกาะกะโหลก เป็นเกาะบ้านเกิดของ King Kong บนเกาะแห่งนั้นไม่ใช่จะมีแค่ King Kong เท่านั้น แต่ยังมีสัตว์ดึกดำบรรพ์ต่างๆ ที่ควรจะสูญพันธุ์ไปนานแล้ว ยังคงอาศัยอยู่ในนั้นด้วย จึงทำให้สถานที่แห่งนั้นเป็นเกาะที่อันตราย น่าค้นหา และทำให้ภาพยนตร์เรื่อง Kong Skull Island ได้หยิบเอาประเด็นเนื้อเรื่องจากตรงนี้ มาทำเป็นภาพยนตร์เรื่องใหม่ของ King Kong

Kong Skull Island

Kong Skull Island เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในยุค 70 โดยมีนักสำรวจ 2 คน (John Goodman / Corey Hawkin) ที่ต้องการไปสำรวจเกาะบนมหาสมุทรแปซิฟิกที่ยังไม่เคยมีใครไปสำรวจมาก่อน พร้อมกับได้ร้องขอการอารักขาจากกองทัพสหรัฐฯ จึงได้พันโท Preston Packard (Samuel Jackson) นำทีมทหารที่กำลังจะถอนกำลังจากสงครามเวียดนามมาช่วยดูแลเรื่องความปลอดภัยให้ อีกทั้งยังได้ว่าจ้างให้ James Conrad (Tom Hiddleton) มาเป็นคนแกะรอยที่จะพาทีมสำรวจไปสำรวจเกาะ Skull Island แห่งนี้ โดยที่ไม่มีใครรู้เลยว่าบนเกาะแห่งนั้นมีอะไรกำลังรออยู่

Kong Skull Island

Kong Skull Island ถูกจัดเป็นหนัง Action ในสไตล์ American Monster Movie หรือ หนังสัตว์ประหลาดอเมริกัน ภายใต้การเขียนบทของคน 4 คน ได้แก่ John Gatins ที่เคยเขียนเรื่อง Real Steel (2011) เป็นคนเขียนเนื้อเรื่องหลัก และอีก 3 คน (Dan Gilroy / Max Borenstein / Derek Conolly) ที่เคยเขียนบทภาพยนตร์ของ Godzilla (2014) และ Jurassic World (2015) มาช่วยเขียนให้ แต่กลับกลายเป็นเรื่องน่าประหลาดใจ ที่ตัวบทของ Kong Skull Island นั้น กลับดูไม่มีอะไร มีแค่เพียงฉากสัตว์ประหลาดที่น่ากลัวและทำออกมาได้สวยงาม เอามาแปะต่อๆ กันเท่านั้น

Kong Skull Island

อย่างไรก็ตาม ภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้อบอวลไปด้วยบรรยากาศของสงครามเวียดนามในยุค 1970 จึงทำให้หลายฉากมีความสวยงาม และมีการใช้ Computer Graphic ในการออกแบบสัตว์ประหลาดต่างๆ ก็ทำออกมาได้ดีมากๆ จนน่าพอใจ จึงถือได้ว่า Kong Skull Island เป็นภาพยนตร์สัตว์ประหลาดที่ทำให้ King Kong ได้กลับมาผงาดบนจอภาพยนตร์ในปี 2017 อีกครั้งหนึ่ง

Kong Skull Island

เป็นเวลา 84 ปีแล้ว ที่ King Kong ออกอาละวาดบนโลกจิตนการของมนุษย์ เปรียบเสมือนตัวแทน หรือ สัญลักษณ์ของธรรมชาติ ที่มาตอกย้ำว่ามนุษย์เราไม่ได้ยิ่งใหญ่อะไรบนโลกใบนี้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่านั่นก็คือ จินตาการของผู้สร้าง ซึ่งก็คือ Marian C. Cooper ผู้ซึ่งทุ่มเทแรงกายให้กับจินตนาการที่เขารัก และทำให้ทุกคนที่ได้ดูภาพยนตร์

เชื่อว่า หากเราฝันให้ใหญ่ ก็ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้

Kong Skull Island


Photo : Warner Bros. Pictures

keyboard_arrow_up