The Walking Backpack , ปั้น - จิรภัทร พัวพิพัฒน์, หนังสือ The Walking Backpack , ลากคุณชายไปอินเดีย, อินเดีย, เที่ยวอินเดีย

The Walking Backpack ลากคุณชายไปอินเดีย กับเรื่องราวชวนตะลึงที่ไม่คิดว่าจะมีในโลก

The Walking Backpack , ปั้น - จิรภัทร พัวพิพัฒน์, หนังสือ The Walking Backpack , ลากคุณชายไปอินเดีย, อินเดีย, เที่ยวอินเดีย
The Walking Backpack , ปั้น - จิรภัทร พัวพิพัฒน์, หนังสือ The Walking Backpack , ลากคุณชายไปอินเดีย, อินเดีย, เที่ยวอินเดีย

การเดินทางของสองพี่น้องที่ไม่มีอะไรเหมือนกันเลย บนดินแดนที่ไม่เหมือนประเทศไหนในโลก

“อินเดีย” เพียงแค่ได้ยินชื่อ ใครต่อใครก็พากันส่ายหน้าปฏิเสธที่จะไปเยือนกันแล้ว โดยเฉพาะเมื่อมีคำบอกเล่าถึงสารพัดความยากลำบากและความทรหดก็ทำให้เราเกิดอากาศขยาดกลัว จนไม่ใคร่มีใครตัดสินใจเดินทางไปเที่ยวมากนัก ยกเว้นนักเดินทางขาลุย ผู้หลงใหลในวัฒนธรรมเท่านั้นแหละที่เห็นอินเดียเป็นดั่งสรวงสวรรค์

และนักเดินทางขาลุยที่ว่านี้ก็มีชื่อว่า “ปั้น – จิรภัทร พัวพิพัฒน์” ชายหนุ่มผู้หลงรักการเดินทางและเจ้าของเพจดังที่มีคนติดตามกว่า 2 แสนคน ‘The Walking Backpack’ ที่วันนี้เขาจะพาเราไปเยือนอินเดีย ดินแดนหลากอารยธรรมบนหน้ากระดาษในหนังสือเล่มล่าสุดของเขา “The Walking Backpack ลากคุณชายไปอินเดีย”

The Walking Backpack , ปั้น - จิรภัทร พัวพิพัฒน์, หนังสือ The Walking Backpack , ลากคุณชายไปอินเดีย, อินเดีย, เที่ยวอินเดีย

ความสนุกแรกของหนังสือเล่มนี้คือ การที่พี่น้องซึ่งต่างกันสุดขั้ว (ปั้น- จิรภัทรกับ ปั๊ม-ธีรภัทร พัวพิพัฒน์) ต้องเดินทางไปเยือนดินแดนที่แสนลำบากนี้ด้วยกัน …คนหนึ่งขาลุยเป็นแบ็คแพ็คเกอร์ตัวจริงและยังเสพย์ติดความลำบาก แต่อีกคนติดหรู เป็นคุณชายทุกระเบียบนิ้ว เรื่องเสื้อผ้า ทรงผม และความสบายต้องมาก่อน

“…บทเรียนที่เราได้รับจากการเดินทางครั้งนี้จะไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน เพราะมันคือโจทย์ที่เราตั้งขึ้นเอง ขอบเขตที่เราเป็นคนกำหนดขึ้นเอง” – หน้า 22

แล้วเมื่อคนสองคนที่มีนิสัยและไลฟ์สไตล์ต่างกัน ต้องมาผจญภัยในดินแดนที่ได้ชื่อว่าสุดโหดและลำบากสุดๆ อย่าง “อินเดีย” ประสบการณ์การเดินทางครั้งนี้คงยากจะลืมเลือน และนี่ก็คือเรื่องราวที่ดึงดูดให้เราสนใจหนังสือเล่มนี้ จึงอดใจหยิบ The Walking Backpack ลากคุณชายไปอินเดียขึ้นมาอ่านไม่ได้

อีกหนึ่งความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้คือการพาเราไปรู้จักวิถีชีวิตและวัฒนธรรมหลากหลายที่สืบต่อกันมาหลายพันปีของอินเดีย ซึ่งแน่นอนว่าวัฒนธรรมดั่งเดิมที่มีอายุเก่าแก่นี้ย่อมมีเสน่ห์ชวนหลงใหล แต่ในทางกลับกันวิถีชีวิตหรือไลฟ์สไตล์บางอย่างของชาวอินเดียก็ชวนให้เราปวดหัวและอารมณ์เสียไปพร้อมกัน และบางเรื่องยังเป็นเรื่องชวนตะลึงที่เราไม่คาดคิดว่าจะมีในโลก

The Walking Backpack , ปั้น - จิรภัทร พัวพิพัฒน์, หนังสือ The Walking Backpack , ลากคุณชายไปอินเดีย, อินเดีย, เที่ยวอินเดีย

หนังสือเล่มนี้ทำให้เราได้เปิดโลกกว้างขึ้น แม้จะไม่ได้ไปเยือนอินเดียด้วยตัวเอง เพียงแค่เรื่องราวระหว่างบรรทัดก็ชวนตื่นตา ตื่นตะลึง และชวนเหนื่อยแทนพวกเขาได้ เพราะหนังสือเล่มนี้เป็น ‘บันทึกการเดินทาง’ ที่ทำให้หนอนหนังสืออย่างเราได้เปิดประสบการณ์แปลกใหม่ เสมือนเดินทางไปเยือนอินเดียไปพร้อมกับปั้น

ขณะเดียวกันหนังสือเล่มนี้ยังเป็น ‘ไกด์บุ๊ค’ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวน่าไป พร้อมแนะแนวให้เราเอาชีวิตรอดในดินแดนคฤโหด ตั้งแต่การเข้าแถวไปจนถึงการรับมือกับชาวอินเดียที่จ้องจะเอาเปรียบนักท่องเที่ยว แต่ภายใต้ความยากลำบากก็มีสิ่งสวยงามซ่อนเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นทิวทัศน์ที่สวยงามทั้งจากสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างทัชมาฮาล และจากธรรมชาติ อย่างยอดเขาหิมาลัยที่ปกคลุมไปด้วยหิมะสีขาวโพลน รวมทั้งมิตรภาพระหว่างทางทั้งกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและชาวอินเดียนิสัยน่าคบ

แต่ไฮไลท์เด็ดของอินเดียที่เราชื่นชอบในหนังสือเล่มนี้คือ การได้เห็นอารยธรรมที่ต่างกันสุดขั้ว เป็นความขัดแย้งที่ไม่อาจหาได้จากประเทศไหนในโลกนอกจากอินเดีย ซึ่งทั้งปั้นและปั๊มต่างก็นิยามความหลากหลายของอินเดียด้วยประโยคเดียวกันว่า “Incredible India”

The Walking Backpack , ปั้น - จิรภัทร พัวพิพัฒน์, หนังสือ The Walking Backpack , ลากคุณชายไปอินเดีย, อินเดีย, เที่ยวอินเดีย

(01.) ความแตกต่างอย่างสุดขั้วของฐานะทางสังคม ปั้นบอกไว้ในหนังสือว่ามหาเศรษฐีชาวอินเดียอาจมีเพื่อนบ้านเป็นยาจกที่แทบไม่มีข้าวกิน เห็นได้จากการไปเยือนเมืองเดลี (Delhi) เมืองหลวงของอินเดีย ซึ่งระยะทางเพียง 15 นาทีระหว่าง Old Delhi กับ New Delhi ก็จะพบความแตกต่างที่เรียกได้ว่าฟ้ากับเหว

“แปลกดีนะครับ เพียงแค่คุณนั่งตุ๊กๆ จากโอลด์เดลีมานิวเดลีแค่ 15 นาที ความแตกต่างที่คุณเห็นมันมหาศาลมากเลยนะ โอลด์เดลีทั้งโบราณและกันดารสุดๆ มีขี้วัวเต็มถนน บ้านช่องพร้อมจะพังถล่มลงมาได้ทุกเมื่อ แต่นิวเดลีนั้นดูทันสมัย มีทุกอย่างเหมือนเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลก” (หน้า 78)

(02.) วิถีชีวิตที่ย้อนแย้งระหว่างวิถีดั่งเดิมกับความทันสมัย อย่างภาพแม็คโดนัลที่มีเกวียนเทียมวัววิ่งผ่านในหน้า 50 “ถัดมาอีกหน่อยที่หัวถนนมีแมคโดนัลด์สาขาใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่ครับ หน้าร้านก็มีวัวเดินลากรถขนของอยู่ เจ้าของวัวก็คอยเฆี่ยนให้มันเดินไปอย่างเชื่องช้า” (หน้า 55)

(03.) สภาพอากาศที่เพียงแค่ข้ามผ่านเมืองก็พบกับความแตกต่างอย่างสุดขั้ว ปั้นบอกไว้ว่าในเมืองเดลีนั้นร้อนจนตับแทบละลายในอุณหภูมิเกือบ 50 องศา แต่เพียงนั่งเครื่องบิน 1 ชม. ไปเยือนเมืองเลห์ ลาดักห์ (Leh Ladakh) เสมือนจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ กลับมีอุณหภูมิแค่ 4 องศาเซลเซียล ความแตกต่างนี้เกิดจากปัจจัยเรื่องภูมิประเทศ โดยเหตุผลที่ทำให้เมืองเลห์หนาวจับใจนั้น เพราะเป็นเมืองเล็กๆ ที่ตั้งอยู่บนเขา ใกล้เทือกเขาหิมาลัย และมีความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 3500 เมตร สูงกว่าดินอินทนนท์ 1300 เมตร

The Walking Backpack , ปั้น - จิรภัทร พัวพิพัฒน์, หนังสือ The Walking Backpack , ลากคุณชายไปอินเดีย, อินเดีย, เที่ยวอินเดีย

(04.) ความขัดแย้งระหว่างความสวยงามของสถานที่กับความยอดแย่ของผู้คน โดยเรื่องนี้เกิดขึ้นที่เมืองอัครา เมืองที่ตั้งของสถาปัตยกรรมแห่งความรักที่ที่ปั้นต้องเจอกับการจ้องจะเอาเปรียบของคนอินเดีย ซึ่งปั้นได้กล่าวไว้ในบทที่ 22 ทัชมาฮาล น่าเหลือเชื่อจริงๆ ว่า “แต่เรื่องที่แย่ที่สุดที่เกิดขึ้นในสถานที่ที่สวยที่สุดในอินเดียที่ชื่อว่าทัชมาฮาล มันช่างดูขัดแย้งกันแบบสไตล์อินเดียอย่างแท้จริง…

มันเสียความรู้สึกมากเลยนะ ทัชมาฮาลคือหนึ่งในสิ่งที่สวยที่สุดเท่าที่เคยเห็นในชีวิต แต่ทุกครั้งที่ผมนึกถึงทัชมาฮาล สิ่งแรกที่จำได้แม่นเลยก็คือไกด์ขี้โกงแบบนี้

เคยได้ยินสโลแกนการท่องเที่ยวของประเทศอินเดียที่ว่า Incredible India มั้ย เป็นนิยามที่เข้ากับเมืองอัคราได้ดีมากๆ ผสมผสานทั้งส่วนที่ดีและแย่ที่สุดเข้าไว้ด้วยกัน ช่างน่าเหลือเชื่อจริง… อินเดีย”

“…ถ้าอินเดียคือปริญญาเอกของผม หนังสือเล่มนี้ก็คงเป็นทีสิส บทวิทยานิพนธ์ของปริญญาบัตรใบนี้ เพราะมันได้รวบรวมประสบการณ์ ความบ้าคลั่ง ข้อคิด และทุกสิ่งที่ผมไปเจอมาจากวิชาอินเดียศาสตร์ตลอดทริปนี้” – หน้า 22

อย่างที่บอกไปแล้วว่าหนังสือ The Walking Backpack ลากคุณชายไปอินเดีย เป็นไกด์บุ๊ดที่ช่วยแนะแนวทางให้เราเอาชีวิตรอดในดินแดนอินเดีย ดังนั้นจึงไม่แปลกหากปั้นจะเขียนบอกเล่าถึงกลวิธีการเอาชีวิตรอดในอินเดียมาฝากผู้อ่านอย่างเรา โดยเขาได้รวบรวมเคล็ดวิชาเอาตัวรอดในบทที่ 6 How to survive in Delhi

ไม่ว่าจะเป็นกลเม็ดการป้องกัน ‘คิว’ ที่อาจโดนลัดได้ง่ายๆ จากชาวอินเดีย แม้ว่าคุณกำลังจะยื่นเงินซื้อตั๋วก็อาจจะโดนมนุษย์อินเดียแซงคิวได้ หรือวิธีการหลีกเลี่ยงขบวนการ ‘Hard Sell’ จากบรรดาโซเฟอร์ตุ๊กๆ และพ่อค้าแม่ขายทั้งหลาย และที่เด็ดสุดคือ ‘แดกยังไงไม่ให้ท้องเสีย’ ที่ถึงแม้ว่าปั้นจะเขียนไว้ว่าไม่ว่าจะกินอะไรท้องก็เสีย แต่อย่างน้อยปั้นยังใจดีแนะนำเมนูอร่อยและท้องอาจไม่เสียมาฝาก ดังนั้นหากใครที่กำลังวางแผนไปเยือนดินแดนหลากอารยธรรมแห่งนี้ แนะนำให้อ่านหนังสือเล่มนี้ก่อน แล้วคุณจะมีชีวิตรอดบนสนามรบที่ชื่อว่าอินเดีย

The Walking Backpack , ปั้น - จิรภัทร พัวพิพัฒน์, หนังสือ The Walking Backpack , ลากคุณชายไปอินเดีย, อินเดีย, เที่ยวอินเดีย

ปิดท้ายกันด้วยคำนิยามของอินเดียจากปั้น ซึ่งเขาได้เขียนไว้ในหน้า 375 ว่า “ถ้าอินเดียเป็นผู้หญิงคนหนึ่ง เธอคงเป็นผู้หญิงแก่นๆ กวนๆ ผมสั้นดูลุยๆ ดูตอนแรกอาจจะไม่สวยเท่าไหร่ ไม่ค่อยชอบนัก แต่พอค่อยๆ รู้จักกันกลับพบว่าเธอน่าสนใจมาก มีเรื่องราวของเธอที่ไม่มีใครเคยรู้ เธอชอบอะไรที่ไม่เหมือนคนอื่นๆ เธออาจดูยุ่งๆ ไม่มีระเบียบ แต่เธอมีคาแรคเตอร์ที่ชัดเจนมาก คุณอาจจะต้องใช้เวลานานเพื่อเข้าใจเธอ เพราะเธอไม่ใช่ดาวโรงเรียนที่ทุกคนหมายปอง เธอไม่ใช่ผู้หญิงสำหรับทุกคน แต่ถ้าเธอใช้สำหรับคุณ คุณจะหลงรักเธอสุดๆ รักแบบไม่มีวันลืม รักแบบที่คุณจะต้องกลับมาเจอเธออีก …ที่ประเทศอินเดีย”

 

หนังสือ : The Walking Backpack ลากคุณชายไปอินเดีย
โดย : ปั้น – จิรภัทร พัวพิพัฒน์
สำนักพิมพ์ : GEEK BOOK
ราคา : 335 บาท

Story : Taliw
Photo : Wara Suttiwan
keyboard_arrow_up