MOVIE SHADES : The Infiltrator สัญชาติญาณลวงของมนุษย์ผ่านแผนปล้นเหนือเมฆ

ทำไมคนเราต้องโกหก? ทุกอย่างมีเหตุผลในตัวของมัน แต่ใครจะโกหกเพื่อความถูกต้องหรือโกหกเพื่อเอาตัวรอด คุณมีคำตอบอยูในใจแล้ว…

ในปี 1971 ประเทศสหรัฐอเมริกาและประธานาธิบดี Richard Nixon ได้ประกาศสงครามกับยาเสพย์ติด และได้บัญญัติวลี “Public Enemy No.1” หรือ “ภัยอันตรายอันดับหนึ่งของชาติ” เพื่อใช้ในการต่อต้านการค้าและการเสพยาเสพย์ติด ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐบาลต่างต้องหายุทธวิธีในการพิชิตเหล่ามาเฟียผู้ค้ายาเสพย์ติดให้ได้ และ “การโกหก” ก็เป็นหนึ่งในกลยุทธนั้น

Infiltrator

The Infiltrator เป็นภาพยนตร์ที่สร้างมาจากเรื่องจริง (ฺBased on true story) ที่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรรัฐที่ต้องหาวิธีในการปราบปรามยาเสพย์ติด ด้วยบทบาทการแสดงและการนั่งแท่น executive producer ของ Bryan Cranston (จากซีรี่ย์ทีวี Breaking Bad และเข้าชิงออสการ์ดาราสมทบชายจากเรื่อง Trumbo ปี 2015) บวกกับการกำกับของ Brad Furman (The Licoln Lawyer) ที่ทำให้หนังเรื่องนี้เป็นหนังแนวตำราจ อาชญากรรม ที่มีเนื้อเรื่องและลำดับภาพที่เฉียบคม ชวนให้ติดตามตั้งแต่ต้นจนจบ ด้วยปริมาณของ action ที่ไม่มากจนเกินไป แต่ได้แฝงไว้ด้วยความรุนแรงต่างๆ ทำให้หนังเรื่องนี้มีสัดส่วนของการเป็นหนังที่ดีได้อย่างชาญฉลาด

“จนเราไม่มีทางรู้เลยว่าอันไหนคือความจริง”

the-infiltrator

มนุษย์เราสามารถใช้ชีวิตโดยปราศจากการ โกหก ได้ไหม ?

จากงานวิจัยพบว่า มนุษย์เราเริ่มพูดโกหกตั้งแต่ 2 ขวบ เรียกได้ว่าเมื่อเราเริ่มที่จะรู้จักการสื่อสาร เราก็เริ่มเรียนรู้ที่จะ โกหก

เราเรียนรู้ที่จะ โกหก ด้วยเหตุผลหลักๆ เพียงไม่กี่อย่าง อย่างแรกเลยคือ “ความกลัว” มนุษย์เรามักโกหกเพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสีย และการที่จะต้องเผชิญหน้ากับการต้องพูดความจริง ผลกระทบ และข้อขัดแย้งต่างๆ เรากลัวที่จะอดตาย เรากลัวที่จะลำบาก กลัวที่จะไม่ได้สิ่งที่เราต้องการ เราจึงโกหก อย่างที่สองคือ “การเบี่ยงเบนความสนใจ” มนุษย์เราใช้การโกหกเพื่อหลอกล่อ และล่อลวงให้ได้ผลลัพธ์ตามที่เราต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการโกง การหลอกลวง เพื่อให้จุดประสงค์ของเราบรรลุตามเป้าหมาย และอย่างสุดท้ายคือ “ความหยิ่งผยองในศักดิ์ศรี”  ที่ทำให้เราไม่กล้าที่จะยอมรับความจริงต่อหน้าคนอื่น ไม่กล้าที่จะทำให้ภาพลักษณ์ของตัวเรานั้นดูไม่ดี หรือไม่กล้าที่จะให้คนอื่นนั้นรับรู้ว่าเรานั้นไม่ได้เป็นดั่งตัวตนที่เราอยากให้เขาคิด

การโกหกของมนุษย์นั้นค่อนข้างแตกต่างจากสัตว์ เรามีเหตุผลหลายอย่างที่ทำให้เราโกหก และอาจทำให้เราชอบโกหกจนติดเป็นนิสัย แต่ว่าสัตว์ชนิดอื่นนั้นมักโกหกด้วยสัญชาติญาณการอยู่รอด เช่น นกบางชนิดจะแสร้งทำเป็นว่ามันกำลังบาดเจ็บ หรือแสร้งว่ามันนั้นกำลังกกไข่อยู่ เพื่อดึงดูดความสนใจจากนักล่า และเพื่อให้นักล่า ตามออกมาให้ห่างจากรังจริงๆ ของมัน หรือแม้แต่พืชบางชนิดที่วิวัฒนาการลวดลายบนใบของมันให้เหมือนกับลายจุดของการถูกผีเสื้อวางไข่ ทำให้ผีเสื้อไม่วางไข่ซ้ำลงบนใบของมันอีก ความไม่ซับซ้อนของการต้องการอยู่รอดของพืชและสัตว์ ทำให้การโกหกของมนุษย์เรานั้น ถูกกระทำลงไปเพียงเพราะความเห็นแก่ตัว แม้ว่าบางครั้ง การโกหก เองนั้นก็ถือว่าเป็นกลไกสำคัญของการรักษาระบบกลไกของสังคม อย่างเช่น การพูดอ้อมๆ ก็ถือว่าเป็นการโกหกอย่างหนึ่ง ที่ถือว่าเป็นวัฒนธรรมการสื่อสารของคนไทย เพราะว่าคนไทยนั้นมีนิสัยขี้เกรงใจ และไม่กล้าบอกความจริงกันตรงๆ

Infiltrator

การไม่กล้าบอกความจริงของคนเรา เป็นสิ่งยืนยันว่า “มนุษย์เราไม่กล้าเผชิญความจริง” หรือถ้าจะให้บอกว่า “มนุษย์เรากลัวความจริง” ก็คงจะไม่ผิดนัก เพราะว่าความจริงนั้น เป็นข้อมูลที่ยากที่จะต้องยอมรับ ยากที่จะต้องรับรู้ และยากที่จะต้องบอกออกไป แม้ว่าบางครั้งการโกหกนั้นอาจทำไปด้วยเจตนาที่ดี แต่นั่นก็เป็นเพียงส่วนน้อยของการโกหกที่เราต้องเจอในชีวิตประจำวัน ซึ่งความจริงที่แน่นอนที่สุดก็คือ “เราไม่มีทางรู้ว่าความจริงอันไหนคือความจริง” ตราบใดที่เราไม่สามารถอ่านความคิดของใครคนนั้นได้ทั้งหมด เราก็ไม่มีทางรู้เลยว่าสิ่งที่คนๆ นั้นแสดงออกมานั่นคือความจริง

the-infiltrator

Story: Dj Barge

Photo: Credit: David Lee / Broad Green Pictures

keyboard_arrow_up