“Knowledge Cities : New Lives, New Opportunities” มองไอเดียผ่าน 7 Speakers “เมือง คิด ใหม่”

“Knowledge Cities : New Lives, New Opportunities” มองไอเดียผ่าน 7 Speakers “เมือง คิด ใหม่”

เชื่อว่าคนไทยทุกคนคงเคยสงสัยว่า เมืองเราจะไปได้ไกลกว่านี้หรือไม่ Thailand4.0 คืออะไร แนวโน้มความเปลี่ยนแปลงในบ้านเมืองเรากำลังไปในทิศทางใด เราในฐานะสมาชิกในสังคมจะเติบโตไปพร้อมกับเมืองที่ขยายได้หรือไม่ เรื่องเหล่านี้ใกล้ตัวเราหรือไม่

ในงานนี้ ผู้ฟังกว่า 1,000 ชีวิต เต็มอิ่มไปกับการร่วมค้นหาคำตอบ พร้อมเรียนรู้กลยุทธ์ ในการขับเคลื่อนสู่เมืองแห่งความรู้ ( Knowledge City Strategy and Implementation) กันอย่างใกล้ชิดกับวิทยากรบนเวทีเสวนา ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมืองแห่งความรู้จากทั่วทุกมุมโลก ผู้กำหนดนโยบาย นักธุรกิจ นักวางแผนเมือง รวมทั้งนักคิด นักพัฒนานวัตกรรม และผู้ร่วมอุดมการณ์ที่มีความต้องการเห็นเมืองแห่งความรู้ในแบบฉบับ ของไทยเรา ประกอบไปด้วย

รศ. ดร. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้นำทัพในตำแหน่ง President and Chief Executive Officer แห่ง Quality House Plc. คุณอนุวัตร เฉลิมไชย Brand Director, SCG Cement-Building Materials Co., Ltd.,  คุณจูน เซคิโน Design Director จาก Junsekino Architect and Design คุณรวิศ หาญอุตสาหะ Managing Director ผู้พลิกวิกฤตฟื้นโอกาส ให้กับแบรนด์เครื่องสำอางยอดฮิตอย่าง “ศรีจันทร์” รวมถึงวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ ในเวทีระดับโลก ได้แก่ Dr. Jong-Sung Hwang จากประเทศ Korea, Ms. Marie Ostergard Directer แห่งห้องสมุดมาตรฐาน สากล ที่โด่งดังไปทั่วโลก Aarhus Public Libraries, Denmark และ Dr. Jackie Watts ผู้รอบรู้เรื่องเมืองอุดมปัญญา จาก Knowledge City, City of Melbourne ประเทศ Australia

กูรูทั้ง 7 ท่านได้นำเสนอแนวคิดภายใต้หัวข้อ Knowledge Cities ที่ว่าด้วย ทำอย่างไรให้เกิด New Lives, New Opportunities หรือ ชีวิตใหม่ โอกาสใหม่ หลักการสำคัญคือการให้ความรู้และทักษะที่จำเป็นในโลกปัจจุบันเป็นการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่คน เป็นการให้โอกาสเพื่อพัฒนาตนเองและยกระดับคุณภาพชีวิต การสร้างเมืองแห่งความรู้ ที่เต็มไปด้วยสิ่งแวดล้อม ทั้งโครงสร้างพื้นฐานในการเรียนรู้ (แหล่งเรียนรู้) นโยบายที่เอื้อต่อเกิดการเรียนรู้ การพัฒนาองค์ความรู้ที่จำเป็น และการสนับสนุนของทุกภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศ ฯลฯ ที่เอื้อต่อการพัฒนาและเข้าถึงองค์ความรู้และทักษะใหม่ๆ เป็นการให้ชีวิตใหม่และโอกาสใหม่แก่คนไทย รวมถึงภาคธุรกิจและสังคมด้วย

หลังจากรับฟังมุมมองจากเหล่าวิทยากรแล้ว เกิดข้อคิดที่น่านำไปค้นหาต่อมากมายหลายประเด็น เช่น จริงหรือไม่ที่ในปัจจุบันเรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่องค์ความรู้จะกลายเป็นเครื่องมือหลักในขับเคลื่อนเศรษฐกิจ, เราจะเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร, เมืองไทยที่มีบริบทเป็นของตัวเองอย่างชัดเจน จะสามารถปรับแนวคิดของต่างประเทศมาใช้ให้เกิดผลจริงได้อย่างไร แต่บทสรุปที่ทุกประเทศทุกวัฒนธรรมมีเหมือนกันคือ เมืองจะพัฒนาเติบโตเป็น เมือง คิด ใหม่ได้ ก็ต่อเมื่อ ประชากรในเมืองนั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลและองค์ความรู้บนพื้นฐานของความเท่าเทียม และโดยทั่วถึงกันนั่นเอง

 

ผู้สนใจข้อมูลพิ่มเติมในหัวข้อดังกล่าว ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดตามข่าวสารความรู้ดีๆ ได้ที่ www.okmd.or.th

keyboard_arrow_up